วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

แจก EA (Expert Advisor)Forex

 
วิธีการฝากเงิน ผ่านแบงค์ Online SCB 
วิธีถอนเงิน ถอนกำไร Exness เข้าธนาคารในไทย 

EA ทีให้ไปขอให้เพื่อนๆ นำไปทดสอบกับบัญชีทดลองใช้ให้เเน่ใจก่อนที่จะนำไปใช้กับบัญชีจริงนะครับ  การเล่นด้วย EA นั้นสามารถทำกำไรให้เราได้จริงครับแต่ว่าไม่ไช่ตลอดไปครับจากประสบการณ์ EA ส่วนใหญ่ที่ทำกำไรได้ดีจะอยู่ในช่วงตลาดที่ไม่เป็นเทรนย์ครับ หรือก่อนตลาด LONDON จะเปิดเเละเล่น EA อีกทีก็ช่วง หลัง 5ทุ่มไปจนเช้าครับเเต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็อยากให้เพื่อนๆ ฝึกฝนด้วยการใช้เทคนิคต่างๆของตัวเองจะดีกว่าครับเพราะจะทำให้เราได้ความรู้เเละประสบการณ์ด้วย

 EA ที่เเนะนำไปทดสอบกันครับ 



 




โหลด  indicators




วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วิธีติดตั้ง EA (Expert Advisor)

 

ก่อนจะอธิบายเกี่ยวกับวิธีติดตั้ง EA (Expert Advisor) สำหรับบางคนที่ยังไม่ทราบว่ามันคืออะไรขอกล่าวสักเล็กน้อยก่อนครับ EA (Expert Advisor) ที่เรียกกันง่ายๆ ว่า “Bot”
เจ้า EA (Expert Advisor) หรือ Bot มันคือเครื่องมือที่ช่วยเทรดอย่างอัตโนมัติมันจะทำการซื้อขายหุ้นได้เอง ส่วนใหญ่จะต้องเปิดให้ Run 24 ชั่วโมง แต่จะได้ผลมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับ Algorithm ของ EA ตัวนั้นๆ ถ้าผู้ใช้ไม่มีความเชี่ยวชาญพออาจทำให้เสียเงินไปได้โดยง่าย
ต่อไปเป็นวิธีติดตั้ง EA (Expert Advisor) เริ่มจากให้เราทำการค้นหาและดาวน์โหลด EA มา (ส่วนใหญ่ที่แจกฟรี มักจะไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ) จากนั้นให้ทำการแตกไฟล์ออกมาส่วนใหญ่จะมีอยู่ 2 ไฟล์ด้วยกันนามสกุลไฟล์จะเป็น .ex4 และ mq4 (สำหรับ MT4)
Setup-EA-1
จากนั้นทำการ copy ไฟล์ .ex4 และ .mq4 ไปวางไว้ในโฟลเดอร์ที่เราติดตั้งโปรแกรม MT4 (MetaTrader 4) จะอยู่ในส่วนของ C:\Program Files\MetaTrader – EXNESS\experts
Setup-EA-2
เมื่อเสร็จแล้วให้ทำการเปิดโปรแกรม MT4 ขึ้นมา EA (Expert Advisor) ที่เราติดตั้งจะอยู่ในส่วนของ Navigator Bar และอยู่ภายใต้ Expert Advisors
Setup-EA-3
หลังจากติดตั้งเสร็จให้เปิดใช้งานโดยการลากไปวางที่กราฟได้เลย(drag & drop) จากนั้นจะมี pop-up ขึ้นมาเพื่อปรับแต่งค่าของ EA ตัวนั้นๆ (จะต้องทำการเปิด Allow live trading และ Allow DLL imports ด้วย) จากนั้นกด OK
Setup-EA-4
จะเห็นมีรูป Emo อยู่ด้านบนขวามือของกราฟเราสามารถทำการสั่งให้ทำงานหรือหยุดทำการได้โดยใช้ เมนู Expert Advisors เมื่อ EA ทำงานนั้นจะเป็นรูปคนยิ้มตามภาพ
Setup-EA-5
การใช้ EA ก็เหมือนกับเอาเงินฝากคนอื่นให้เทรดให้แต่การเล่นมือเหมือนเราเป็นคนเทรดหุ้น นั้นด้วยตัวเอง ฉนั้นตัดสินใจให้ดีในการเทรด ไม่ได้บอกว่าการใช้ EA ไม่ดีแต่การใช้ EA นั้นเราจะต้องควบคุมมันให้ดี มิเช่นนั้นละหมดตัว…แนะนำให้ลองจาก demo account ก่อนครับ
***ข้อควรระวังในการโหลด EA นั้นควรโหลดจากแหล่งที่เชื่อถือได้ EA ส่วนใหญ่อาจจะทำให้เครื่องเราเสียหายได้หรืออาจจะฝังตัวมาในรูปแบบของการดัก จับ password เราก็เป็นได้

Stochastic


 
Stochastic เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการเกร็งกำไรในตลาดฟอเร็กซ์ สโตเป็นเครื่องมือวัดการแกว่งของตลาดซึ่งเหมาะกับตลาดไซว์เวย์ (Side way) ไซเวย์หมายความว่ามีการแปลงแปลงของราคาไม่มากนัก สโตเป็นเครื่องมือที่ไวเท่ากับราคา สัญญาณของสโตจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการตัดกัน โดยส่วนมาก ผมจะใช้ สโต ในการดูOverbought / Oversold และ การดู Divergence
สัญลักษณ์ ที่ผมใช้เพื่อให้เข้้าใจกันทุกคนนะครับ
OB=Overbought สัญญาณแรงซื้อเยอะเกินไปแล้ว
OS=Oversold สัญญาณการขายเยอะเกินไปแล้ว
DVB=Divergence Bullish สัญญาณกลับตัวของขาขึ้น
DVBr=Divergence Bearish สัญญาณการกลับตัวของขาลง
มาดดูภาพด้านล่าง ประกอบเลยนะครับ

จาก ภาพด้านบนจะเห็นว่า ผมได้กำหนดให้เส้นปะสีขาว ที่ระดับ 80 เป็น เขต OB และ เส้นประสีขาวด้านล่างที่ระดับ 20 เป็นเขต OS ซึ่งสโตในรูปผมได้ตั้งค่าไว้ที่ 8- 3 -3 ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานที่ใช้กันโดยทั่วไป มีเส้นสีขาวและสีแดง เป็นเส้นสัญญาณในการพิจาณา ซึ่งดูจากการตัดกันของเส้น

การดู stochastic

1.เมื่อเส้นสัญญาณทั้งสองเส้นได้วิ่่งเข้าสู่ เขต OB ระดับ 80 แล้ว เราก็เริ่มพิจาณากันได้เลยว่า การขึ้นมาของราคาเริ่มจะสิ้นสุดลงแล้ว ให้เตรียมปิดออเดอร์ เมื่อเริ่มมีสัญญาณการกลับตัวนั่นก็คือ เส้นสัญญาณท้งสองเส้นเริ่มตัดกันให้เราปิด ออเดอร์ ที่เรา Buy มาทันที และเตรียมหาสัญญาณ Sell เมื่อเส้นสัญญาณทังสองเ้ส้นได้ตัดกันเรียบร้อยแล้ว

2.เมื่อเส้นสัญาณทั้งสองเส้นได้วิ่งเข้าสู่เขต OS ระดับ 20 แล้ว มันเป็นสัญญาณบอกเราว่า การลงมาของราคาไดใกล้สิ้นสุดแล้ว ให้เราเตรียมปิดออเดอร์ที่เราได้ Sell
มา แล้วเตรียมหาโอกาสเมื่อเส้นสัญญาณทั้งสองเส้นได้กลับตัวแล้วมีการตัดกันเกิด ขึ้น แล้วเราก็เปิด order buy ทันที

3. การดู Divergence ไดเวอร์เจนดูได้สองแบบคือ ดูไดขาขึ้น และไดขาลง ไดขาขึ้นเรียกว่า Divergence Bullish ไดขาลงเีีรียกว่า Divergence Bearish
การดูไดขาขึ้น DVB จากรูปเห็นเส้นสีเหลืองกันมั้ยครับ นั่นแหระครับ คือ Divergence ไดเวอร์เ้จ้นเป็นการลากจุดสองจุดเทียบกัน โดยมีข้อกำหนดที่ว่า ยอดแรกและยอดที่สองต้องไม่เท่ากัน จึงจะเรียกว่าไดเวอร์เจน การดูไดขาขึ้นก็ลากสองยอดเทียบกัน โดยให้ ความชันมีค่าเป็นบวก ถ้าสัญญาณได้เกิดไดเวอร์เจนนั่นก็หมายความว่าราคาจะมีการกลับตัวในไม่ช้า เตรียมเปิดออเดอร์กันได้เลย การใช้ sto ดูไดเวอร์เจนจะไม่ค่อยชัดเจนเหมือนดูจาก CCI , RSI , และ MACD เพราะ stochastic จะเน้นไปทางการดู
Overbought/ Oversold มากกว่า และดูจากการตัดกันของ เส้นสัญญาณทั้งสองเ้ส้นด้วย เพียงแค่นี้เราก็สามารถเกร็งกำไรจากตลาดฟอเร็กโดยใช้ stochastic กันได้แล้ว

กฏ 24 ข้อ เพื่อทำกำไรในตลาด


 
กฏ 24 ข้อ เพื่อทำกำไรในตลาด

นักค้าต้องมีกฏเกณฑ์ในการปฏิบัติที่ แน่นอนและต้องมีวินัยอย่างเคร่งครัด กฏเกณฑ์ที่จะกล่าวต่อไปนี้ ได้รวบรวมจากประสบการณ์ 45 ปี ในตลาดหุ้นของ นายวิลเลี่ยม ดี แก้น ซึ่งเป็นที่เชื่อว่า หากใครสามารถปฏิบัติตามได้ก็จะประสบความสำเร็จในตลาดหุ้น

1. จำนวนเงินลงทุน ต้องพอดีและจงแบ่งเงินลงทุนเป็นสิบส่วน เท่าๆกัน ในการซื้อขายแต่ละครั้ง อย่าลงทุนซื้อหรือขาย เกินหนึ่งในสิบของเงินลงทุน
2. ใช้คำสั่ง STOP ORDER ควรป้องกันการลงทุนโดยการตั้ง STOP ORDER 3-5 ช่วงต่ำกว่าราคาที่ซื้อ หรือ สูงกว่าราคาที่ขาย
3. อย่าซื้อหรือขายเกินตัว เพราะจะเป็นการฝ่าฝืนกฎเกี่ยวกับจำนวนเงินลงทุนในข้อ 1
4. อย่าปล่อยให้กำไรกลายเป็นขาดทุน หลังจากที่ท่านมีกำไร 3 ช่วงหรือมากกว่านั้น จงยกระดับ STOP ORDER ให้สูงขึ้นเพื่อป้องกันมิให้ขาดทุน
5. อย่าเริ่มก่อนแนวโน้ม ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ:ตามแผนภูมิของท่าน
6. เมื่อสงสัย ให้ออกจากตลาดและอย่าเข้าตลาดถ้ายังสงสัย
7. ซื้อขายเฉพาะหุ้นที่มีการซื้อขายมาก อย่ายุ่งกับหุ้นที่มีการเคลื่อนไหวช้าหรือแน่นิ่ง
8. จงกระจายความเสี่ยง ซื้อขายหุ้นอย่างน้อย 4 ถึง 5 บริษัท ถ้าเป็นไปได้อย่างลงทุนจนหมดตัวในหุ้นของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง
9. จงอย่าใช้ราคาเฉพาะ ทั้งการซื้อและการขาย จงใช้ราคาตลาด
10. อย่าขายหุ้นทิ้งโดยไม่มีเหตุผลที่ดี จงใช้ STOP ORDER เพื่อป้องกันกำไรหดหาย
11. จงสะสมกำไร หลังจากที่ท่านประสบความสำเร็จและมีกำไรติดต่อกันหลายๆ ครั้ง จงสำรองกำไรส่วนนี้ไว้ต่างหากเพื่อใช้ในยามฉุกเฉินหรือตอนที่มีการตื่น ตระหนก
12. อย่าซื้อ เพียงแต่เพื่อจะเอาเงินปันผล
13. อย่าเฉลี่ยการขาดทุน เพราะนี่เป็นความผิดที่เลวร้ายที่สุดที่นักค้าหุ้นไม่ควรทำ
14. อย่าออกจากตลาด เพียงเพราะว่าท่านหมดความอดทนหรือเข้าตลาด เพียงเพราะว่าท่านไม่อยากรอ
15. จงหลีกเลี่ยง การขายเพื่อเอากำไรแต่น้อยและอย่าปล่อยให้ขาดทุนมาก
16. จงอย่ายกเลิกคำสั่ง STOP ORDER ที่ท่านสั่งตอนที่ท่านซื้อขายหุ้นนั้น
17. จงหลีกเลี่ยง การเข้าและออกจากตลาดบ่อยเกินไป
18. จงพร้อมที่จะขาย เช่นเดียวกับซื้อและยึดวัตถุประสงค์ในการทำกำไรให้แน่วแน่
19. จงอย่าซื้อ เพียงเพราะราคาต่ำและอย่าขายเพียงเพราะคิดว่าราคาสูง
20. จงระวังการพีระมิดในจังหวะที่ผิด จงรอจนกระทั่งเริ่มมีการซื้อขายมากและระดับราคาได้วิ่งขึ้นผ่านระดับต้านทาน ก่อนที่จะซื้อเพิ่ม และรอจนกระทั่งราคาได้วิ่งตกต่ำกว่าระดับจำหน่ายจ่ายแจกก่อนที่จะซื้อเพิ่ม ขึ้น
21. เมื่อซื้อ จงสะสมหุ้นในบริษัทที่มีจำนวนทุนจดทะเบียนน้อย และ ถ้ายืมหุ้นคนอื่นมาขาย จงยืมหุ้นในบริษัทที่มีจำนวนหุ้นจดทะเบียนมาก
22. อย่าป้องกันการขาดทุน ในหุ้นที่ซื้อมาโดยการยืมหุ้นจากคนอื่นมาขายไปก่อน จงขายหุ้นที่ซื้อมาไปในราคาตลาดและยอมรับการขาดทุนเพื่อคอยโอกาสครั้งต่อไป
23. อย่าเปลี่ยนสถานภาพการลงทุน (POSITION) ในตลาดโดยไม่มีเหตุผลที่ดี เมื่อท่านตัดสินใจซื้อหรือขายหุ้นแล้ว จงให้โอกาสตัวเองตามเหตุผลที่ดีบางประการหรือตามแผนที่กำหนดไว้ อย่าขายหรือซื้อจนกว่าจะมีสัญญาณบอกว่าแนวโน้มได้เปลี่ยนทิศทาง
24. จงหลีกเลี่ยงการเพิ่มพอร์ท หลังจากที่ประสบความสำเร็จและมีกำไรมาเป็นเวลานาน


เมื่อ ท่านตัดสินใจที่จะซื้อขายหุ้น ท่านต้องแน่ใจว่าท่านไม่ได้ฝ่าฝืนกฏข้อใดข้อหนึ่งข้างต้น ซึ่งเป็นกฏที่จำเป็นต่อความสำเร็จของท่าน หากท่านขายหุ้นไปโดยมีการขาดทุน จงทบทวนกฏข้างต้นใหม่และพิจารณาดูว่าท่านได้ทำผิดกฏข้อใด แล้วอย่าทำผิดเป็นครั้งที่ 2 ประสบการณ์และการพิจารณาอย่างรอบคอบจะทำให้ท่านเชื่อคุณค่าของกฏเหล่านี้ การสังเกตและการศึกษาจะนำท่านสู่วิธีการที่ถูกต้องเพื่อ ความสำเร็จและกำไรในตลาดหุ้น



การลงทุน รูปแบบใหม่‎ รายได้เสริม งานออนไลน์ รายได้พิเศษ‎ หารายได้ผ่านเน็ต  วิธีหารายได้บนเน็ต  หาเงินผ่านเน็ต ทำงานผ่านเน็ต หาเงินผ่านเน็ต เล่นหุ้นออนไลน์ เปิดพอร์ตหุ้นออนไลน์ มือใหม่เล่นหุ้น เล่นหุ้นผ่านมือถือต้องมีเงินเท่าไร เริ่มต้นเล่นหุ้น ตลาดหุ้นออนไลน์ เล่นหุ้นอย่างไรให้รวย ซื้อขายหุ้นผ่านมือถือไอแพดแท็บเล็ตและแอนดรอย การเล่นหุ้นเบื้องต้น เทรดหุ้นออนไลน์ การลงทุนในหุ้น วิธีเล่นหุ้น หุ้นออนไลน์ หุ้นปันผล

การใช้ Bollinger band ควบคู่ไปกับ Relative Strength Index และ Stochastic Slow ในตลาดฟอเร็กซ์ Credit:www.9professionaltrader.blogspot.com การใช้ Bollinger band ควบคู่ไปกับ Relative Strength Index และ Stochastic Slow ในตลาดฟอเร็กซ์ | Forex Trading Blog สอนเทรด Forex - แหล่งศึกษาข้อมูล Forex และสอน Trade Forex แบบมืออาชีพ Under Creative Commons License: Attribution


 
การใช้ Bollinger band ควบคู่ไปกับ Relative Strength Index และ Stochastic Slow ในตลาดฟอเร็กซ์
บทความนี้ได้มีเพื่อนผมคนนึงครับบอกชื่อเลยละกัน kt2008(user ในมาเก็ตติว่านะครับ) บอกให้ผมช่วยหา Indicators ที่ใช้ควบคู่กับ Bollinger Band หน่อย ซึ่งตอนนั้นผมก็ตอบเพื่อนคนนี้อย่างรวดเร็วไปว่า "เออ ใช้กับ Stochastic Slow ว่ะ"ซึ่งผมยังไม่ได้บอกมันเลยครับ ว่าผมไม่ได้บอกทั้งหมดว่าใช้กับ RSI ได้ด้วย  แต่ว่าใช้ได้เหมือนกัน เพียงแต่ Stochastic บอกสัญญาณที่เร็วกว่า Relativa Strength Index (Rsi)  Oscillators ที่บอกสัญญาณได้เร็วอันดับแรกก็คือ Commodity Channel Index (CCI) และรองลงมาก็คือ Stochatic  สองตัวนี้จะเหมาะสมกับกราฟพักตัว หรือที่เรียกว่ากราฟไซเวย์(Sideway) นั่นเอง เพราะฉะนั้น อย่าได้ใช้อินดิเคเตอร์สองตัวนี้ในการเล่นกราฟที่มีแนวโน้มไปทางเดียวเด็ด ขาด เพราะคุณอาจจะถูกหลอกว่ามัน Over Bought (OB= ภาวะตลาดมีแรงซื้อเยอะเกิน )ในช่วงขาขึ้น และภาวะตลาดที่มีแรงขายเยอะเกิน (Over Sold) ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่นักลงทุนตกใจ อย่าพยายามคิดว่า มันสุดแล้วหน่า Sell ดีกว่า เหนือฟ้ายังมีฟ้าครับ   เพราะฉะนั้นคุณควรจะศึกษา Elliott wave หรือหาจัดกลับตัวจากการใช้ Fibonacci กันด้วยครับ ทั้งสองสิ่งนี้มันจะทำให้เรารู้ว่ากราฟจะพักตัวตรงไหน จะกลับตัวตรงไหน สามารถพยากรณ์ช่วยเราได้


สำหรับบทความนี้นะครับ จะเป็นเรื่อง การใช้  Bollinger Band ผมจะอธิบายตามหลักที่ผมเข้าใจนะครับ
Bollinger Band คือเส้นที่อยู่เหนือราคา และอยู่ตำกว่าราคา สองเส้นนี้จะเป็นกรอบที่ห้อมล้อมราคาไว้ และสามารถบอกเราให้รู้ว่า ราคาควรจะอยู่ในช่วงไหน ซึ่งนี้แหระครับ คือความมหัศจรรย์ของมัน หลายคนอาจจะมีมองข้ามสิ่งที่ง่ายๆไป สิ่งที่สามารถทำกำไรได้ โดยที่ไม่รู้ว่า พื้นฐานนี่แหระครับ เป็นสิ่งที่ดี (Basis(c) is the best ) โบลินเจอร์แบนจะประกอบด้วยทั้งหมด 3 เส้น ในกรณีที่อยู๋ในกราฟ MT4 นะครับ แต่ถ้าอยู่ใน Marketiva จะมีสองเส้น (ให้เพิ่มเส้น MA 20 เข้าไปเพื่อให้มีสามเส้นเหมือนกับ mt4 )
Bollinger band ประกอบด้วย 1. Upper Line เส้นบนสุด  2.Middle Band เส้นกลาง 3. Lower Line เส้นล่างสุด  เส้นกลาง Middle Line ผมจะเรียกมันว่า เส้น Pivot จะใช้เป็นจุดกึ่งกลางของช่วงที่ราคาเคลื่อนที่ โดยกฎทั่วไปของ Bollinger band  ผมจะพิจารณาเป็นสองช่วงนะครับ ช่วงแรกคือกราฟวิ่งทางเดียว หรือที่เรียกว่า กราฟมีแนวโน้มที่ชัดเจน และช่วงที่สองคือ ช่วงกราฟวิ่งขึ้นวิ่งลงเป็น Flat(ขนานในแนวระนาบ) หรือที่เรียกว่ากราฟ Sideway (เหมาะมากกับการใช้โบลินเจอร์แบน)
เรามาดูแบบแรกกันก่อนนะครับ
สภาวะขาขึ้น Bullish 
-ช่วงที่มีแนวโน้มชัดเจน ถ้าเป็นขาขึ้น (Bullish) กราฟจะเกาะเส้นบน (Upper Line ) ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีการพักตัว
-เมื่อกราฟพักตัวแล้วราคามีการปรับตัวลงมา แต่ราคาไม่สามารถทะลุเส้น Middle Band ไปได้ นั่นหมายความว่า ราคายังจะคงขึ้นต่อไปจนกว่าจะไปชนเส้นบน Upper line อีกครั้ง
-แล้วจุดกลับตัวดูยังไง
   จุดกลับตัวก็ดูจากราคาปิดของแท่งเทียน ถ้าราคาปิดของแท่งเทียนปิดต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของแท่งมันเอง นั่นหมายความว่า แนวโน้มของกราฟกำลังจะกลับตัวลงมาที่เส้น Middle Line อีกครั้ง
-แล้วเราจะใช้กับ Time frame ไหน จึงจะเหมาะสมที่สุด
Time Frame หรือ ช่วงเวลาที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับตัวคุณเองว่าเล่นสั้น(Short term Trading) หรือเส้นยาว(Long Term Trading) ถ้าเล่นสั้นๆ ก็ใช้ Tf 5 15 นาที แต่ถ้าเล่นยาวๆ ก็ควรจะใช้ มากกว่า 1 H แต่โดยส่วนตัวผมแล้ว ผมใช้กับกราฟ 30 นาที ถือว่าเหมาะสมกับผมที่สุด
ต่อไปเรามาดูสภาวะที่เป็นขาลง Bearish กันบ้างครับ
สภาวะขาลงก็ตรงกันข้ามกับขาขึ้น แต่สภาวะขาลงจะเล่นสนุกกว่าขาขึ้น เพราะลงมากกว่าขึ้น และใช้เวลาน้อยกว่า เทรดเดอร์บางคนรอเล่นเฉพาะขาลง เพราะมันได้กำไรเร็ว
-ถ้าราคาเกาะเส้นล่าง Lower line ไปเรื่อย แสดงแนวโน้มของขาลงยังคงไปต่อ และยังไม่จบอย่างง่ายๆ โดยเฉพาะถ้าแท่งเทียนปิดต่ำกว่าครึ่งของแท่งมันเอง เป็นสัญญาณบอกได้ชัดเจนว่าลงต่อ อย่างแน่นอน
-เมื่อราคามีการพักตัวราคาจะดีดกลับมาที่เส้น Middle Line แต่โดยส่วนมาก ราคามักจะไม่ผ่านเส้นกึ่งกลางนี้
-เมื่อราคาเกิดการพักตัวจะ Side way ไปหาเส้น Middle Line แล้วเมื่อไปชนเส้นนี้ แล้วมีแท่งเทียนขาลงเกิดขึ้น แสดงว่าแนวโน้มยังคงลงต่อไปและไปหาเส้นล่าง(Lower Line ) เสมอ

-แล้วจุดกลับตัวล่ะ ดูยังไง
จุดกลับตัวก็ดูตรงข้ามกับกราฟขาขึ้น จุดกลับตัวของกราฟขาลง ถ้าราคาทะลุเส้นโบลินเจอร์แบนลงไปแล้ว เด้งกลับขึ้นมาแล้วลักษณะของแท่งเทียนแสดงเป็นลักษณะ โดจิ ค้อน หรือดูราคาปิดก็ได้ ถ้าราคาปิด ปิดสูงกว่ากึงกลางของแท่ง ก็แสดงว่า เริ่มจะกลับตัว

ช่วงที่สอง กราฟวิ่งขึ้นวิ่งลง หรือเรียกกันว่ากราฟไซด์เวย์ นั่นเอง
กราฟไซเวย์ดูง่ายครับ ถ้าใช้ Bollinger Band ลักษณะของโบลินเจอร์จะเป็นช่องขนานไปกับแนวระนาน โดยที่
- เส้นบนจะกลายเป็นแนวต้านทันที นั่นหมายความว่า ถ้าราคาขึ้นไปแล้วไม่ผ่าน มันก็จะวิ่งลงมาหาเส้นล่าง แล้วถ้าไม่ผ่านเส้นล่าง ก็ขึ้นไปหาเส้นบน จะเป็นแบบนี้ตลอด
-แล้วมันจะแบบนี้ตลอดเลยเหรอ
มันจะเป็นแบบนี้เฉพาะช่วงไซย์เวย์หนักๆเท่านั้น โดยส่วนมาก จะไม่เกิน 3 Top 3 Bottom ถ้าเกินคือกราฟเริ่มสะสมแรงเพื่อไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง
- แล้วมีจุดสังเกตมั้ยว่ากราฟกำลังสะสมกำลังจะพุ่ง
   ดูง่ายๆเลยครับ ถ้าโบลินเจอร์แบนลู่เข้าหากัน หมายความว่า เป็นลักษณะคอคอด หรือขอขวดนัั่นแหระ ให้้เตรียมพร้อมไว้เลย ว่ากราฟจะกำลังจะไปในทิศทางใด ทิศทางหนึ่ง
วันนี้พอแค่นี้ก่อนนะครับ ผมให้การบ้านกับคนที่อ่านทุกคน จินตนาการตามที่ได้อ่าน แล้วลองดูกราฟ ตอนนี้ผมยังไม่ทำรูปให้ดู แล้วมาดูกันว่า รูปตามจินตนาการของคุณกับของ 9prof จะเหมือนกันมั้ยครับ ฝากไว้เป็นการบ้านนะครับ

มาดูกันต่อนะครับ ว่า  Bollinger band มีวิธีใช้อย่างไร
1.Up Trend ชนขอบบนแล้วทะลุ และราคาเกาะเส้น Upper Line ไปเรื่อยๆ นั่นหมายความว่า UpTrend Strong แนวโน้มขาขึ้นยังคงไปได้เรื่อยๆ
ดูรูปตัวอย่างด้านล่างครับ


2.DownTrend ชนขอบล่างแล้วทะลุขอบล่างลงมา เมื่อราคาเกาะขอบล่างลงมา ราคาจะไปต่อได้เรื่อยๆ วิธีสังเกตคือ ถ้าราคาปิดของแท่งเทียนปิดใกล้กับเส้นขอบล่าง นั่นหมายความว่า แนวโน้มลงยังคงดำเนินต่อไป และแนวโน้มขาลงมักจะเคลื่อนที่แบบต่อเนื่อง และรวดเร็วกว่าแนวโน้มขาขึ้นมากๆ
ดูตัวอย่าง แนวโน้มขาลงจาก Bollinger band กันเลยครับ



3.Sideway  เมื่อราคาไซด์เวย์ โบลินเจอร์แบนจะเคลื่อนตัวขนานราบ (Flat) หลักการเทรดด้วย Flat แบบนี้ก็คือ เมื่อราคาชนขอบบนแล้วมีแท่งเทียนกลับตัว ให้เปิดออเดอร์ Sell ทันที และเมื่อราคาชนขอบล่างแล้วมีแท่งเทียนกลับตัวขึ้นไป ให้เปิดออเดอร์ Buy ทันทีครับ ดังรูปตัวอย่างด้านล่าง

ด้านบนเป็นตัวอย่างการเข้าซื้อ ขายโดยใช้ Bollinger Band นะครับ จากรูปดูเหมือนง่ายนะครับ เพราะว่ามันเป็นกราฟย้อนหลัง การดูสัญญาณเพียวๆจากโบลินเจอร์แบนตัวเดียวค่อนข้างจะยากนิดนึงครับ เราต้องอาศัยดูแท่งเทียนตอนกลับตัวด้วย แต่อินดี้ตัวนี้จะเหมาะกับพวกชาวสวนมากกว่า เพราะฉะนั้น ผมจึงต้องหาอินดิเคเตอร์อีกตัวเพื่อเป็นตัวกรองสัญญาณอีกทีครับ เพื่อใช้ร่วมกับ Bollinger band

Indicator ตัวแรกที่ใช้กับ Bolinger band คือ Relative Strength Index (RSI) ; RSI เป็นตัวชี้วัดที่บอก Overbought ( Above 70 ) และ OverSold (Below 30)  และ Pivot (50 level)

1. RSI อยู่เหนือ Level 70 ; แบบนี้บ่งบอกว่าราคาได้ขึ้นมากแล้ว และกำลังจะกลับตัว ดูกราฟเลยครับ

2.Rsi อยู่ต่ำกว่า Level 30 ; ถ้า Rsi บ่งบอกแบบนี้หมายความว่า ราคาได้ลงมามากแล้ว และพร้อมที่จะกลับตัวขึ้นไปอีกครั้ง ดูภาพด้านล่างประกอบเลยครับ


จากรูปเห็นมั้ยครับ Rsi เกิด Oversold แล้วขณะที่ราคาแท่งเทียนทะลุขอบล่างแล้วกลับตัวขึ้นไปอีก แบบนี้ให้เราสังเกตไว้เลยครับ ว่าถ้า Rsi เกิด Oversold แล้วมีแท่งเทียนกลับตัว ให้เราเตรียมตัวเปิดออเดอร์ Buy ได้เลยครับ แล้วตั้ง Stop Loss ไว้ที่ Low ของแท่งเทียนก่อนหน้านั้น

3. RSI ที่ Level 50 (Pivot) โดยส่วนมากนะครับ Level 50 นี้ จะมีสำคัญมาก เทรดเดอร์บางท่านใช้ Level 50 นี้แหระครับ ในการตัดสินใจเทรด ถ้าทะลุ Level 50 ขึ้นไปก็ Buy ตาม แต่ถ้า Rsi ทะลุ Level 50 ลงมา ก็ Sell ตาม ดังรูปด้านล่างครับ

การใช้ Bollinger Band ควบคู่กับ RSI ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถทำกำไรได้ง่าย แต่ทุกอย่างขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของเรานะครับ บางครั้งผมเห็นสัญญาณกลับตัว ก็ยังไม่กล้าเข้าเลย ก็เพราะความกลัวนี่แหระครับ ทำให้พลาดโอกาสหลายๆครั้ง เพราะฉะนั้นเทรดเดอร์ควรจะชนะความกลัวของตัวเองก่อนนะครับ จึงจะประสบความสำเร็จจากการเทรด โชคดีครับ 9prof

กลยุทธิ์และวิธีเก็งกำไรแบบต่างๆ


 

MACD Trading

MACD ถือว่าเป็นเครื่องมือที่ได้รับความยอดนิยมมากในการเทรด เพราะเป็นเครื่องมือที่ค่อนข้างจะแม่นยำ  และตัวนี้ใช้ง่ายครับ แค่ดูที่เส้นตัดกันก็สามารถเทรดได้
MACD 12-26-9
จะประกอบด้วย เส้น Moving Average Type Exponential ที่ Period 12 และ 26
และ MACD Signal line Period 9

ถ้าจะให้ดี เราต้องใส่ Moving Average Type Exponential (EMA ) 12 และ 26 ไปด้วย เพื่อหาสัญญาณคอมเฟริม

การปรับค่าขึ้นอยู่กับความพอใจของเรานะครับ ลองเอาไปปรับค่าให้เหมาะสมกับการเทรดของเรา แล้วเครื่องมือตัวนี้จะสามารถทำกำไรให้คุณ หลักการง่ายๆครับ Crossover


ใช้ได้กับทุก Time Frame ครับ


และเรายังสามารถใช้ MACD ตัวนี้หา Wave 3 ของ Elliott wave ได้ โดยปกติแล้วคลื่น 3 จะเป็น Impulse wave ที่มีแรงกระตุ้นสูงสุด ดังนั้น MACD ของคลื่น 3 จึงเป็นตำแหน่งสูงสุด กรณีที่เป็นขาขึ้น

Elliott wave ขาขึ้น 12345



และกรณีที่เป็นขาลงจะได้ดังนี้
Elliott wave 1 2 3 4 5 ขาลง



และนอกจากนี้เรายังสามารถใช้ MACD เพื่อหาจุด Breakout ได้ โดยส่วนใหญ่เราจะดู Breakout จากราคา แต่วิธีนี้เราสามารถดูจุดเบรกเอ้าจาก MACD ได้เลย และได้สัญญาณที่เร็วกว่าด้วย
เมื่อราคาพักตัว MACD ก็จะพักตัวด้วยเหมือนกัน แต่โดยส่วนใหญ่ MACD จะพักตัวแบบสามเหลี่ยม Triangle Correction
ดังรูป



และ

วิธีการเทรดข่าวนอนฟามในสไตล์ของ 9professionaltrader (Trading Non-Farm Payroll Style 9Professionaltrader)

วิธีการเทรดข่าวนอนฟามในสไตล์ของ 9professionaltrader (Trading Non-Farm Payroll Style 9Professionaltrader) 
การเทรดข่าวนอนฟาม Non-Farm Payroll วิธีนี้ ที่ผมได้ใช้เป็นประจำในการเทรดข่าวนอนฟาม นอกจากข่าวนอนฟามแล้ว ก็ยังสามารถใช้กับการเทรดข่าวแดงๆแรงๆ (High Impact) ได้ทุกข่าว หลักการนี้ผมจะเรียกมันว่า Break out Entry Setting การตั้งราคาเข้าเมื่อมันทะลุ  (ชื่อนี้คิดสดๆเลยครับ) หลักการของมันคือ
-เราจะตั้งราคาไว้ล่วงหน้าที่ราคาสูงสุดและต่ำสุดของช่วงที่ผ่านมา คือจะตั้ง Buy Stop ไว้ที่ High และ Sell Stop ไว้ที่ Low
-เมื่อราคาวิ่งทะลุขึ้นด้านบนก็จะชนราคา Buy stop ที่เราได้ตั้งไว้ และเมื่อ ราคาวิ่งลงมาทะลุ Low ด้านล่างก็จะชน Sell Stop ที่เราได้ตั้งไว้
-การตั้ง Stop Loss  การตั้ง Stop Loss ของ Buy ให้ตั้งที่ ตำแหน่ง Sell Stop บวกไปอีกห้าจุด หรือหาจุด Low ที่ใกล้เคียงกับราคา Sell Stop ในช่วงนั้นๆ และการตั้ง Stop Loss ของ Sell Stop ก็ตั้งที่ตำแหน่ง Buy stop บวกไปอีก ห้าจุด หรือตั้งที่จุดใกล้เคียงกับราคา Buy Stop ในช่วงเวลานั้นๆ
-คำถาม ? อ้าวแล้วถ้ามันวิ่งชนสองฝั่ง ทำไงล่ะ
ตอบ ก็โดน Stop loss ทั้งสองฝั่งไงครับ เสียเบิ้ลเลย เสียสองทาง เพราะฉะนั้นเราควรหาตำแหน่ง Stop Loss ให้เหมาะสม
- อีกหนึ่งคำถาม มีวิธีแก้ไขมั้ย แบบนี้ ถ้าผมไม่ตั้ง Stop Loss จะได้มั้ย เผื่อมันวิ่งสองฝั่งผมจะได้กินทั้งสองฝั่งเลย
 ตอบ  ก็ได้ครับ แต่ถ้ามันวิ่งชน Stop order คุณทั้งสองฝั่ง แล้วมันตัดสินใจไปทิศทางใดทิศทางหนึ่งคุณต้องตัดอีกพอร์ตทันที ไม่งั้นมันลากคุณยาวแน่ๆ อีกวิธีก็คือ ปล่อยให้ราคาลากไป แล้วไปปิดออเดอร์ที่บวกที่แนวรับแนวต้านใหญ่ๆ จากนั้นก็รอราคาเด้งกลับ พอร์ตคุณก็จะมีกำไรละ แต่ผมแนะนำให้ตั้ง Stop Loss ดีกว่า จะได้ไม่ต้องเครียดทีหลัง ติดลบนานๆมันเครียด เกิดอาการจิตตก หลอนประสาท
ด้านล่างนี้เป็นรูปตัวอย่างการเทรดข่าวนอนฟาม (Trading non-farm news)
เป็นกราฟของวันศุกร์ที่ 3 ของเดือนกันยายน 2553 เวลา 19.30 ข่าวนอนฟามจะมีเฉพาะศุกร์แรกของทุกๆเดือน ดูรูปกันเลยครับ
การเทรดข่าวนอนฟาม
รายได้เสริม หารายได้ อยากรวย ลงทุนออนไลน์ หารายได้ออนไลน์ เล่นหวย เล่นหุ้น เก็งกำไร เทรด Forex Exness หาเงินออนไลน์ งานออนไลน์ รายได้ออนไลน์ เทรดหุ้น อาชีพเสริม หางาน ลงทุนออนไลน์ เทรด TFAX 


 

เว็บสำเร็จรูป

ทฤษฎีดาว Dow Theory


 

ทฤษฎีดาว(Dow Theory) ตอนที่ 1

ทฤษฎีดาว ( Dow Theory)


ทฤษฎี ดาว (Dow Theory) ถูกคิดค้นขึ้นโดย Charles Henry Dow ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งการวิเคราะห์ทางเทคนิค เมื่อเกือบ 100 ปีที่แล้ว แต่กฏและหลักการของดาว ยังคงใช้ได้ตราบจนถึงปัจจุบัน แต่หลักการนี้มิได้พูดถึงเพียงการวิเคราะห์ทางเทคนิค หรือ การเคลื่อนที่ของราคาหุ้น แต่สิ่งนี้ถือเป็นปรัชญาของตลาดหุ้น ที่อิธิบายถึงพฤติกรรมของตลาดหุ้นที่ยังคงเหมือนเดิม เกิดขึ้นซ้ำๆ เฉกเช่นเดียวกัน เมื่อตลาดหุ้นเมื่อ 100 ปี ที่แล้ว
ดาวได้พัฒนาการ วิเคราะห์ตลาดหุ้นจนเกิดทฤษฎ๊ในช่วงปลายศตวรรตที่ 19 จนกระทั่งเขาได้เสียชีวิตในปี 1902 ซึ่งเขาเป็นส่วนหนึ่งของเจ้าของและเป็นบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ The wall street journal แม้ว่าเขาไม่ได้เขียนหนังสือของตัวเองก็ตาม แต่เขาก็ได้เป็นบรรณาธิการให้กับหนังสือหลายเล่มในการการให้ความเห็นด้านการ เก็งกำไรและกฎ Industrial average
หลังจากที่ดาวได้เสียชีวิตแล้ว ก็มีหนังสือที่อธิบายเกี่ยวกับทฤษฎีของเขามากมาย เช่น The ABC of stock speculation , The stock market barometer
ทฤษฎีดาว (Dow Theory)

ทฤษฎีดาว (Dow Theory)


ตลาดขาขึ้น-ขั้นที่ 1 - สะสม


ฮา มิลตัน(Hamilton) กล่าวไว้ว่าในช่วงแรกของตลาดขาขึ้นมักจะไม่แตกต่างจากตลาดในช่วงขาลงแต่คน ใหญ่ยังมองในแง่ลบและทำให้แรงซื้อยังคงชนะแรงขายในช่วงแรกของขาขึ้น ช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่ไม่มีใครถือหุ้นประกอบกับไม่มีข่าวดีทำให้ราคาประเมิน ของหลักทรัพย์ถึงจุดต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาเช่นนี้เป็นช่งงที่ผู้ที่ลงทุนอย่างฉลาดจะเริ่มสะสมหุ้นและเป็นช่วง ที่ผู้ทีมีความอดทนและใจเย็นพอที่จะเห็นประโยชน์ของการเก็บหุ้นไว้จนกระทั่ง ราคาดีดกลับ บางครั้งหุ้นมีราคาถูกแต่กลับไม่มีใครต้องการ ช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่ วอเร็นบัฟเฟตได้กล่าวไว้ในช่วงฤดูร้อนของปี 1974 ว่าตอนนี้ได้เวลาที่จะซื้อหุ้นแล้ว แต่ก็ไม่มีใครเชื่อ ในระยะแรกของตลาดขาขึ้น ราคาหุ้นจะเริ่มเข้าใกล้จุดต่ำสุด แล้วค่อยๆยกตัวขึ้น และเป็นการเริ่มต้นของขาขึ้น หลังจากที่ตลาดยกตัวสูงขึ้นและดิ่งกลับลงมา จะมีแรงขายออกมาเป็นการบอกว่าขาลงยังไม่สิ้นสุด ในช่วงนี้เองที่จะต้องวิเคราะห์อย่างระมัดระวังว่าการปรับตัวลงมีนัยยะสำคัญ หรือไม่ หาไม่มีนัยยะสำคัญ จุดต่ำสุดของการลงจะยกตัวสูงขึ้นจากจุดต่ำสุดเดิม สิ่งที่ตามมาคือตลาดตะเริ่มสะสมตัวและมีการแกว่งตัวน้อย หลังจากนั้นจึงเริ่มปรับตัวสูงขึ้นและหากราคาเคลื่อนที่ขึ้นเหนือจุดสูงสุด เดิม จะเป็นการยืนยันการเริ่มต้นของแนวโน้มขาขึ้น

ตลาดขาขึ้น -ขั้นที่ 2 -การเคลื่อนไหวครั้งยิ่งใหญ่


ขึ้น ที่ 2 มักจะเป็นช่วงที่มีระยะเวลานานที่สุด และมีการปรับตัวสูงขึ้นมากที่สุด ระยะเวลานี้จะเป็นช่วงที่กิจการต่างๆกำลังเริ่มฟื้นตัวมูลค่าหลักทรัพย์จะ เพิ่มขึ้น รายได้และกำไรเพิ่มขึ้นจึงก่อให้เกิดความมั่นใจมากขึ้น ช่วงนี้จึงถือว่าเป็นข่วงที่สามารถทำกำไรได้ง่ายที่สุด เพราะมีผู้เข้ามาลงทุนตามแนวโน้มของตลาดมากขึ้น

ตลาดขาขึ้น -ขึ้นที่ 3 - เกินมูลค่า


ระยะ ที่ 3 ของตลาดขาขึ้น เป็นระยะที่มีการเก็งกำไรมากเกินไป ทำให้เกิดภาวะตลาดเฟ้อ (ดาวได้คิดทฤษฎีนี้ขึ้นมาเมื่อประมาณ 100 ปีก่อน แต่เหตการณ์เช่นนี้ยังคงเป็นเรื่องที่คุ้นเคยในปัจจุบัน) ในขั้นสุดท้ายนี้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในตลาด ค่าที่ประเมินสูงเกินไป และความมั่นใจมีมากจนเกินปกติ จึงเป็นช่วงที่เรียกได้ว่าเป็นส่วนกลับของขั้นที่ 1

ตลาดขาลง - ขั้นที่ 1 - กระจาย


เมื่อ การสะสมเป็นขั้นที่ 1 ของขาขึ้น การกระจายก็คือขั้นแรกของขาลง นักลงทุนที่ฉลาดจะไหวตัวทันว่า ธุระกิจต่างๆในปัจจุบันไม่ได้ดีอย่างที่เคยคิด และเริมขายหุ้นออกแต่คนอื่นๆยังคงอยู่ในตลาดและพอใจในการซื้อที่ราคาที่สูง จึงเป็นการยากที่จะบอกว่าตลาดกำลังเข้าสู่ขาลง อย่างไรก็ตาม จุดนี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการกลับตัว เมื่อตลาดปรับตัวลง คนส่วนใหญ่ยังไม่เชื่อว่าตลาดเข้าสู่ขาลงและยังมองตลาดในแง่ดีอยู่ ดังนั้นเมื่อตลาดปรับตัวลงพอประมาณ จึงมีแรงซื้อกลับเข้ามาเล็กน้อย ฮามิลตันกล่าวว่าการกลับตัวขึ้นในช่วงขาลงนี้จะค่อยข้างรวดเร็วและรุนแรง ดังเช่นที่ฮามิลตันได้วิเคราะห์ไว้เกี่ยวกับการกลับตัวที่ไม่มีนัยยะสำคัญ นี้ ว่าส่วนที่ขาดทุนไปจะได้กลับคืนมาในระยะเวลาเพียงไม่กี่วันหรือสัปดาห์ การเคลื่อนไหวที่รวดเร็วเช่นนี้เป็นการตอกย้ำว่าขาขึ้นของตลาดยังไม่สิ้นสุด อย่างไรก็ตาม จุดสูงสุดใหม่จะอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าจุดสูงสุดเดิม และหลังจากนั้น หากราคาสามารถทะลุผ่านจุดต่ำสุดเดิม นั่นเป็นการยืนยันถึงขั้นที่ 2 ของตลาดขาลง

ตลาดขาลง - ขั้นที่ 2 - การเคลื่อนไหวครั้งใหญ่


เช่น เดียวกับตลาดในขาขึ้น ขั้นที่ 2 เป็นขั้นที่มีการเปลี่ยนแปลงของราคามากที่สุด ช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่แนวโน้มเด่นชัดและกิจการต่างๆเริ่มถดถอย ประมาณการรายได้และกำไรลดลง หรืออาจขาดทุน เมื่อผลประกอบการแย่ลง แรงายจึงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ตลาดขาลง - ขั้นที่ 3 - สิ้นหวัง


ณ จุดสูงสุดของตลาดขาขึ้น ความดาดหวังมีมากจนถึงขั้นมากเกินไปในตลาดขาลงขั้นสุดท้าย ความคาดหวังทั้งหมดหายไป มูลค่าที่ประเมินต่ำมาก แต่ยังคงมีแรงขายอย่างต่อเนื่องเพราะทุกคนในตลาดพยายามจะถอนตัวออก เมื่อข่าวร้ายเกี่ยวกับธุรกิจ มุมมองทางเศรษฐกิจตกต่ำ จึงไม่มีใครต้องการซื้อ ตลาดจะยังคงลดต่ำลงจนกระทั่งข่าวร้ายทั้งหมดได้ถูกซึมซับแล้ว เมื่อราคาสะท้อนถึงผลกระทบจากเหตการณ์ไม่ดีต่างๆแล้ว วัฏจักรก็เริ่มต้นใหม่อีกครั้ง

บทสรุปของทฤษฎีดาว(Dow Theory)


จุด ประสงค์ของดาวและฮามิลตัน คือ การหาจุดเริ่มต้นของแนวโน้มและสามารถจับการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ได้ พวกเขารู้ดีว่าตลาดถูกขับเคลื่อนโดยอารมณ์ของตลาดและการเกิดปฏิกิริยาเกิน (Overreaction) จริง ทั้งในด้านบวกและด้านลบ พวกเขาจึงมุ่งความสนใจไปที่การมองหาแนวโน้มในการเคลื่อนไหวไปดามแนวโน้ม แนวโน้มจะยังคงอยู่จนกระทั่งจะสามารถพิสูจน์ได้แน่ชัดถึงแนวโน้มใหม่
ทฤษฎี ดาวช่วยให้นักลงทุนเรียนรู้ข้อเท็จจริง ไม่ใช่ตั้งข้อสมมติฐานและคาดการณ์ล่วงหน้า การตั้งข้อสมมติฐานเป็นสิ่งที่อันตรายสำหรับนักลงทุน เพราะการคาดเดาของตลาดเป็นเรื่องยาก ฮามิลตันเองยอมรับว่าทฤษฎีดาวนี้ไม่ได้สมบูรณ์แบบ ในขณะที่ทฤษฎีนี้สามารถใช้เป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์ ทฤษฎีนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการพัฒนาแนวทางการวิเคราะห์ของนักลงทุน
การ อ่านเกมส์ตลาดเป็นศาสตร์ที่ได้จากประสบการณ์ตรงจากตลาด ดังนั้นกฏของฮามิลตันและดาวจึงมีข้อยกเว้นพวกเขามีความเชื่อว่าความสำเร็จ เกิดจากการศึกษาที่จริงจังและการวิเคราะห์ที่มีทั้งความสำเร็จและความผิด พลาด ความสำเร็จเป็นสิ่งที่ดี แต่อย่าหลงระเริง ขณเดียวกัน ความผิดพลาด ถึงแม้จะเจ็บปวด แต่จะให้บทเรียนที่มีค่า การวิเคราะห์ทางเทคนคเป็นศิลปะอย่างหนึ่งซึ่งสามารถพัฒนาได้โดยการฝึกฝน เรียนรู้จากความสำเร็จและล้มเหลวด้วยการมองไปข้างหน้า

ทฤษฎีดาว(Dow Theory) ตอนที่ 2

ทฤษฎีดาว(Dow Theory)


ทฤษฎีดาว (Dow Theory)เกิดจากการรวบรวมและเรียบเรียงข้อความจากบรรณาธิการในหนังสือพิมพ์ "The wall street journal" ซึ่ง Charles Henry Dow และเพื่อนที่เป็นหุ้นส่วนชื่อ Edward Jones เป็นผู้ก่อตั้งหนังสือพิมฉบับนั้น เมื่อปี ค.ศ. 1882 Charles Henry Dow เป็นผู้เขียนบทบรรณาธิการ เขาเป็นนักเศรษฐศาสตร์การเงิน ที่เมื่อก่อตั้งหนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าว ต้องการเขียนรายงานข่าวเศรษฐกิจการเงิน ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่มีดัชนีอะไรทั้งสิ้น ดาวจะรายงานถึงตลาดหุ้นว่าดีหรือเลวอย่างไรขึ้นหรือลงแค่ไหน ก็เป็นเรื่องยากที่จะสื่อให้ผู้อ่านได้รู้ เขาจึงคิดดัชนีตัวหนึ่งขึ้นมา โดยใช้ชื่อเขาและหุ้นส่วน เรียกว่าดัชนีดาวโจนส์ โดยใช้หุ้นชั้นนำ (bluechip) จำนวนหนึ่งมาคำนวณเป็นดัชนีไว้เป็นตัวอ้างอิง จะได้สื่อกับผู้อ่านได้ว่า วันนี้ดัชนีดาวโจนส์ขึ้นหรือลงมากน้อยเพียงใด

ปกติดาวเป็นนักวิเคราะห์การเงิน ซึ่งถ้าเป็นในสมัยนี้ก็ถือว่าเป็นนักวิเคราะห์ที่อิงปัจจัยพื้นฐาน เขาได้เขียนบทบรรณาธิการอยู่หลายปี และได้นำตัวเลขดัชนีดาวโจส์มาทำเป็นกราฟเพื่อรายงานให้ผู้อ่านได้เห็นภาพ พจน์ และแล้วดาวก็ได้สังเกตการเคลื่อนที่ของดัชนีดาวโจนส์ที่ได้นำเสนอผู้อ่าน เป็นกราฟ ว่ามันมีรูปแบบที่แสดงความสำพันธ์ของราคาและปริมาณการซื้อขายกับแกนวันเวลา ว่ามันมีรูปแบบ(Price Pattern) ที่คาดคะเนแนวโน้มได้ เขาจึงได้เขียนบทวิเคราะห์วิจารณ์หุ้นด้วยกราฟ จึงนับได้ว่าดาวเป็นบิดาของการวิเคราะห์ทางเทคนิคของฝ่ายตะวันตก ซึ่งก่อนหน้านี้ในประเทศญี่ปุ่นก็มีผู้ที่ใช้กราฟแท่งเทียน ( Candlestick Chart) ในการวิเคราะห์ราคาข้าวและพืชผลทางการเกษตรกันแล้ว

ต่อมาเมื่อดาวเสียชีวิตลง เพื่อนๆและแฟนประจำคอลัมน์ในของเขาได้ช่วยกันรวบรวมบทบรรณาธิการนั้นขึ้นมา ใหม่ จนกลายเป็น ทฤษฎีดาว (Dow Theory)
ตามความคิดของดาวนั้น เขามองการขึ้นลงของหุ้นเปรียบเสมือนการขึ้นลงของน้ำทะเล กล่าวคือ ช่วงที่น้ำกำลังขึ้นนั้นคลื่นที่ซักเข้าหาฝั่งแต่ละลูกจะถูกขยับสูงกว่าสูง กว่าคลื่นครั้งก่อนๆ ในทางกลับกัน ช่วงที่น้ำทะเลเริ่มลดลง ลูกคลื่นที่เข้าหาฝั่งแต่ละลูกจะค่อยๆมีระดับทีี่ลดลง การเคลื่อนไหวของราคาหุ้นก็มีลักษณะเดียวกับการเคลื่อนไหวของกระแสน้ำในทะเล ตอนขาขึ้นระยะทางที่หุ้นวิ่งขึ้นจะสูงกว่าระยะทางที่หุ้นตกลง แต่ตอนขาลงระยะทางที่หุ้นตกลงจะยาวกว่าจะระยะทางที่หุ้นวิ่งขึ้น จากแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้ถูกพัฒนาเป็นลำดับ เนื่องจากวัฒนธรรมการเผยแพร่ความรู้แบบตะวันตกทำให้เกิดกลุ่มที่มีความเชื่อ ทางทฤษฎีนี้มากมายจนถึงทุกวันนี้ และมีผู้ที่เชื่อว่าทฤษฎีคลื่น Elliott Wave ก็เป็นทฤษฎีที่แตกสาขามาจากทฤษฎีดาว(Dow Theory)นั่นเอง เพียงแต่ ทฤษฎีคลื่น Elliott Wave ได้ขยายความละเอียดลึกลงไป จนผู้ที่ไม่ได้ศึกษาอย่างลึกซึ้งและนำความรู้ที่เพียงบางส่วนมาใช้ จะให้เกิดความผิดพลาดได้อย่างมาก



เมื่อ H= High จุดสูงสุด
L = Low จุดต่ำสุด
Dow ได้แบ่งแนวโน้มราคาหุ้นเป็น 3 ประเภทตามระยะเวลา คือ
1. แนวโน้มใหญ่ ( Primary trend ) ซึ่งเป็นแนวโน้มระยะยาว
2.แนวโน้มรอง (Secondary or Intermediate trend) ซึ่งเป็นแนวโน้มระยะกลาง
3.แนวโน้มย่อย (Minor trend ) ซึ่งเป็นแนวโน้มของราคาระยะสั้นๆ เป็นการเคลื่อนไหวของราคาประจำวัน

ทฤษฎีดาว (Dow Theory)ได้กล่าวไว้ว่า

1.แนวโน้มใหญ่ (Primary Trend)

หรือแนวโน้มระยะยาว ปกติจะใช้เวลา 1 ปี หรือ 200 วันขึ้นไปอาจจะยาวนานถึง 4 ปี

Uptrend (แนวโน้มขึ้น )


ทฤษฎีดาว (Dow Theory)
1. Low ใหม่ จะสูงกว่า Low เก่า (จุด L2 สูงกว่า L1) และ L3 ก็สูงกว่า L2 เช่นเดียวกัน
2.High ใหม่ จะสูงกว่า High เก่า ( จุด H2 สูงกว่า H1) และ H3 ก็สูงกว่า H2 เช่นเดียวกัน
3. ระยะที่ราคาหุ้นวิ่งขึ้นจะยาวกว่าระยะที่ราคาหุ้นวิ่งลง ( ระยะระหว่าง L1 ถึง H2 จะยาวกว่าระยะระหว่าง H2 ถึง L2)

ก่อนเปลี่ยนแนวโน้ม จุดต่ำสุดและสุดสูงสุดใหม่กับเก่า อาจจะอยู่ในระดับเดียวกัน
Dow Theory

แนวโน้มลง Down Trend



1. Low ใหม่จะต่ำกว่า Low เก่า ( จุด L2 ต่ำกว่า จุด L1) และ จุด L3 ก็อยู่ต่ำกว่า L2 เช่นเดียวกัน
2. High ใหม่ จะอยู่ต่ำกว่า High เก่า ( จุด H2 อยู่ต่ำกว่า จุด H1) และ จุด H3 ต้องอยู่ต่ำกว่า H2 เช่นเดียวกัน
3.ระยะที่ราคาหุ้นวิ่งลงจะยาวกว่าระยะทางที่ราคาหุ้นวิ่งขึ้นไป ( H1L2 มากกว่า L2H2)

2.แนวโน้มรอง (Secondary หรือ Intermediate Trend)

เป็นแนวโน้มระยะกลางที่เบี่ยงเบนจากแนวโน้มใหญ่ใช้เวลาตั้งแต่ 3 สัปดาห์หรือหลายเดือน 25วัน ถึง 200 วัน แนวโน้มรองนี้รวมตัวกันแล้วก่อนให้เกิดเป็นแนวโน้มใหญ่ อันประกอบด้วยแนวโน้มรองขึ้น และแนวโน้มรองลง
ตอนหุ้นขึ้น แนวโน้มรองจะยาวกว่าแนวโน้มรองลง
ตอนหุ้นขาลง แนวโน้มรองขึ้นจะสั้นกว่าแนวโน้มรองลง

3.แนวโน้มย่อย (Minor Trend)

เป็นส่วนหนึ่งของแนวโน้มรอง เป็นการแกว่งตัวของราคาในระยะสั้นรายวัน แต่ไม่เกิน 3 สัปดาห์ ในหลักวิชาแล้วนักวิเคราะห์ถือว่าไม่มีนัยสำคัญ มองเพียงเป็นส่วนประกอบของแนวโน้มรองและแนวโน้มใหญ่เท่านั้น

ผมขอเสริมนะครับ ในส่วนนี้ ถ้าเรานำทฤษฎีนี้มาใช้กับตลาดฟอเร็ก Forex Market แนวโน้มใหญ่ที่เราควรจะมองคือ Month week แนวโน้มรองหรือแนวโน้มระยะกลาง คือ Daily แนวโน้มย่อยคือ ต่ำกว่า 4 H

พฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงแนวโน้ม


การเคลื่อนไหวของราคาหุ้นทุกๆแนวโน้มจะเป็นผลจากปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental factors) และจะปรากฏเป็นจิตวิทยามวลชน (mass psychology)ที่จะอธิบายแต่ละช่วงของแนวโน้มอันประกอบเป็นแนวโน้มใหญ่ ซึ่งแนวโน้มใหญ่มี สองชนิดคือ แนวโน้มขาลงหรือตลาดกระทิง (bull market) และแนวโน้มขาลงหรือ ตลาดหมี (bear market ) และแต่ละแนวจำแนกออกเป็น 3 ระยะ (phase) ดังนี้คือ

ตลาดกระทิง (Bull Market)


1. ระยะสะสมหุ้น (Accumulation Phase)

เมื่อราคาหลักทรัพย์หรือดัชนีบ่งชี้ตกต่ำถึงที่สุด เกิดเนื่องจากภาวะหุ้นตกต่ำติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จนมูลค่าซื้อขายน้อยลงมากอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ในช่วงนี้หุ้นหลายตัวจึงไม่คึกคักเพราะหาคนขายยากเนื่องจากขายหมดแล้วหรือ ขาดทุนมาก จึงเก็บไว้เป็นการลงทุนในระยะยาว ส่วนคนซื้อก็น้อยเพราะเข็ดเขี้ยว
ระยะนี้เป้นรอยต่อการเปลี่ยนแปลงปัจจัยพื้นฐาน (fundamental factors) ครั้งสำคัญ สภาวะการณ์ต่างๆไม่ดีไม่ว่าจะเป็นการเมืองที่อืมครึม เศรษฐกิจโดยทั่วไปไม่ดี ผลกำไรของบิษัทออกมาต่ำกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ ช่วงนี้นี่เองที่นักลงทุนมองเห็นการณ์ไกล สายป่านยาว หรือทุนหนา เริ่มเข้ามาซื้อในลักษณะสะสมหุ้นโดยไม่ซื้อไล่ขึ้น แต่จะซื้อเมื่อหุ้นปรับตัวลงมาถึงราคาเป้าหมาย (Target Price) แรงซื้อนี้ทำให้หุ้นขยับขึ้นลงเป็นครั้งคราว แต่จะไม่ต่ำกว่าราคาที่นักลงทุนจ้องซื้อ
ทุกครั้งเมื่อหุ้นตกถึงระดับนี้ เมื่อพิจารณาปัจจัยพื้นฐานไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ การเมือง หรืออื่นๆ จะเลงร้ายถึงขีดสุด จนเป็นระยะที่นักลงทุนคิดว่าไม่มีอะไรเสียหายมากกว่านี้อีกแล้ว อย่างมากก็เสียเวลารอคอยเท่านั้น เป็นโอกาสทองของนักลงทุนที่เห็นการณ์ไกลหรือนักลงทุนหน้าใหม่ จังหวะนี้นับว่าน่าลงทุนที่สุดระยะนี้เป็นระยะสุดท้ายของแนวโน้มใหญ่ขาลง (Final phase of the bear market)

2.ระยะกักตุนหุ้น (Correction Phase)

ในระยะนี้มูลค่าซื้อขายจะเริ่มเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ราคาหุ้นแต่ละตัวมีแนวโน้มขยับฐานเพิ่มสูงขึ้นทีละนิด ข่าวดีเริ่มมีให้เห็น เศรษฐกิจทั่้วไปดูดีขึ้น ผลการดำเนินการของบริษัทได้เรียกร้องความสนใจของนักลงทุน ส่งผลให้จำนวนนักลงทุนและมูลค่าการซื้อขายสูงมากขึ้นเป็นลำดับ

3. ช่วง "ตื่นทอง (Boom Phase)"

ช่วงนี้หุ้นแทบทุกตัวจะขยับขึ้นในอัตราที่สูงและติดต่อกันหลายวัน บางหุ้นขยับขึ้นไปติดเพดาน มูลค่าการซื้อขายจะสูงขึ้นหลายสิบเท่า จำนวนคนในตลาดสูงขึ้นเป็นทวีคูณ เป็นระยะที่ข่าวดีรวมทั้งข่าวลือจะประดังเข้ามาไม่ขาดระยะ ไม่ว่าเศรษฐกิจ การเงิน การเมือง ผลกำไร ของบริษัทที่คาดว่าเพิ่มขึ้น จังหวะนี้เองที่บริษัทในตลาดถือโอกาสเพิ่มทุนขนานใหญ๋ นักเก็งกำไรเข้ามามากที่สุด ในขณะที่นักลงทุนระยะยาวและกองทุนเริ่มทยอยออก เนื่องจากส่วนใหญ่เริ่มมีกำไรในอัตราที่พอใจแล้ว สื่อมวลชนเริ่มลงข่าวออกมา วิจารณ์ว่าตลาดหุ้นเป็นบ่อนการพนัน ในที่สุดช่วงนี้เองที่แนวโน้มเริ่มจะมีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางลง

ตลาดหมี (Bear Market)


1.ระยะแจกจ่าย (Distribution Phase)

เป็นระยะแรกของตลาดหมี อันเป็นช่วงที่นักลงทุนรายใหญ่ทำการแจกจ่ายหุ้นที่มีอยู่ เนื่องมาจากเห็นว่าราคาหุ้นขึ้นมากจนเกินกว่าปัจจัยพื้นฐานจะอำนวยให้ นักลงทุนทั่วไปเริ่มหวั่นไหว เพราะเห็นว่าราคาขึ้นมาสูงเกินอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล ก่อนจะเป็นตลาดหมี (Bear Market) จะมีสัญญาณเตือนโดยมีการแกว่งตัวระหว่างจุดสูงสุดและต่ำสุดห่างกันมาก ตอนราคาหุ้นหรือดัชนีตลาดสูงขึ้นแต่มูลค่าของการซื้อขายกลับลดลง แสดงว่าไปได้อีกไม่ไกล และถ้าราคาหุ้นต่ำลงในขณะที่ปริมาณการซื้อขายสูงขึ้น ก็เป็นสัญญาณเตือนภัยที่ดีให้พยายามขายลดพอร์ต (port) ลง

2.ระยะขวัญเสีย (Panic Phase)

ระยะนี้นักลงทุนรู้สึกว่าตลาดหุ้นจะไปไม่ไหว ข่าวต่างๆเริ่มออกมาทางลบ ข่าวลืมประเภทไม่ดีเริ่มแพร่หลาย เป็นเหตุให้ราคาหุ้นตกอย่างแรง คนเล่นหุ้นที่ขายตัดขาดทุน (Cut loss) ไม่ทันก็จะติดหุ้นในราคาที่สูง โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มที่ชอบเก็งกำไรราคาจะตกลงอย่างรวดเร็ว แม้แต่หุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดีก็ยังตกลงมาเหมือนกัน เพียงแต่ตกลงมาในอัตราที่ช้ากว่าเท่านั้น หลังการตกของราคาหุ้นครั้งใหญ่อาจมีการดีดตัวขึ้นของราคาหุ้น แต่เป็นการปรับตัวขึ้นชั่วคราว (Rebound) ช่วงนี้ห้ามเข้าไปซื้อเด็ดขาด ถ้ายังไม่อยากขาดทุนหนัก

3.ระยะรวบรวมกำลัง (Consolidation Phase)


ขณะที่หุ้นมีราคาต่ำมาก อาจจะต่ำกว่ามูลค่าสุทธิตามบัญชี (book value) หรือราคาพาร์ ทำให้กองทุนต่างๆเริ่มเก็บหุ้น แม้ว่าสภาวะทั่วไปยังไม่ดีขึ้นก็ตาม แต่นักลงทุนก็จะไม่ยินดียินร้ายกับข่าวลืมหรือข่าวจริง ปริมาณการซื้อขายอยู่ในระดับต่ำกว่าความเป็นจริง ระยะที่สามของแนวโน้มใหญ่ขาลงนี้คาบเกี่ยวกับระยะแรกของแนวโน้มขาใหญ่ขึ้น (accumulation)ซึ่งเกิดการประลองกำลังกันของความกล้าและความกลัวในใจของตัว เอง เพราะระยะนี้ถ้าไม่สังเกตอย่าใกล้ชิด จะวิเคราะห์ยากมากจนดูแทบไม่ออก

ในการเรียนรู้การวิเคราะห์ทางเทคนิคสำหรับ ผู้เริ่มต้นนั้น แนะนำว่าให้หัดมองภาพรวมของตลาดก่อนว่ามีทิศทางใด โดยใช้หลักการของทฤฤฎีดาว (Dow Theory) และพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้ม ควบคู่ไปกับการใช้ Indicators เพื่อเป็นจุดชี้วัด ยืนยันสัญญาณในการเทรด Indicators ที่แนะนำ คือ Relativa Strength Index (RSI) , MACD , Moving Average (MA) ครับ

ผมหวังว่าบทความเรื่องทฤษฎีดาว (Dow Theory) คงจะเป็นประโยชน์แก่เพื่อนๆ นะครับ

 



กฎการลงทุนของ Victor Sperandeo


 
สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้ว่างๆก็เลยขุดหาหนังสือมาอ่านซื้อไว้นานแล้วแต่ไม่ได้อ่านซักที(ชื่อ หนังสือ คัมภีร์หุ้น) อ่านไป อ่านมาไปเจอหัวข้อ กฎการลงทุนของ Victor Sperandeo  ซึ่งได้แปลและย่อมาจากหนังสือ Methods Of Wall Street Master  นาย Victor เป็นคนมีชื่อเสียงในฐานะนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จในตลาดหุ้น Wall Street มากว่า 23 ปี โดยเขาบอกว่าประสบการณ์ลงทุนทั้งหมดสามารถสรุปได้เป็น 19 ข้อ ดังนี้








กฎข้อที่ 1 ลงทุนอย่างมีแบบแผน และปฎิบัติตามแผนที่วางไว้อย่างเคร่งครัด
            ก่อนลงทุน Victor บอกว่าจะต้องรู้เป้าหมายและโอกาสจะไปถึงเป้าหมาย ซึ่งหมายถึงการกำหนดแนวทางในการตัดสินใจ ถ้าเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้นไม่ว่าจะเป็นด้านบวกหรือด้านลบ และจะต้องรู้ระยะเวลาในการลงทุนของตัวเอง เช่น เราเป็นนักลงทุยระยะสั้น ระยะกลาง หรือระยะยาว ความหมายในกฎข้อแรกของ Victor คือก่อนการลงทุนทุกครั้งต้อง "รู้เรา" หรือรู้จัก "ตัวเอง" ก่อน


กฎข้อที่ 2 จงเล่นหุ้นตามแนวโน้มตลาด
             Victor แบ่งแนวโน้มตลาดออกเป็น 3 ช่วง คือ แนวโน้ม ระยะสั้น แนวโน้มระยะปานกลาง และแนวโน้มระยะยาว ในแต่ละแนวโน้มจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สิ่งที่สำคัญคือ เราต้องรู้ว่ากำลังอยู๋ในแนวโน้มอะไร และอยู่ในช่วงใดของแนวโน้มนั้น ในสังเกตราคาหุ้นปรับตัวขึ้นมามากหรือยัง

กฎข้อที่ 3 ใช้วิธีการตัดขาดทุนเมื่อจำเป็นทุกครั้ง
            Victor  บอกว่าก่อนลงทุนต้องวางแผนว่า เราจะตัดขายขาดทุนในระดับใด เมื่อราคาหุ้นไม่เป็นไปตามที่เราคิด กฎข้อนี้ Victor อธิบายว่า การที่เรายอมขาดทุนเพียงส่วนน้อย ย่อมดีกว่าขาดทุนบานปลายจนเราไม่กล้าตัดสินใต ซึ่งตามหลักการแล้วการตัดขาดทุนไม่ควรให้ราคาหุ้นตกลงไประดับ 10-20 % ของต้นทุน

กฎข้อที่ 4 เมื่อสงสัยในทิศทางตลาด ควรอยู่นอกตลาด
            สิ่งที่ Victor แนะนำถ้าเราอ่านตลาดไม่ออก ถ้าไม่มีหุ้นในมือยังไม่ควรซื้อ ถ้ามีหุ้นอยู่แล้ว ควรทยอยลดพอร์ต เข้าบอกว่าไม่ควรเข้าตลาดช่วงที่ถูกครอบงำโดยอารมณ์ฝูงชน ซึ่งสะท้อนออกมาในรูปของความโลภ และความกลัว

กฎข้อที่ 5 จงรอระยะอย่างอดทน และอย่าลงทุนหุ้นมากตัวเกินไป
            วิธีทำกำไรที่ดี ควรรอจนปัจจัยร้ายๆต่างๆมีความชัดเจนมากที่สุด และไม่ควรซื้อมากตัวเกินไป ทางที่ดีที่สุดควรซื้อหุ้นไม่เกิน 10 ตัว

กฎข้อที่ 6 ทำกำไรช้า แต่ตัดขาดทุนเร็วๆ
          กฎข้อนี้สำคัญมากๆ ในช่วงที่หุ้นกำลังขึ้น Victor บอกว่า ควรปล่อยให้ราคาหุ้นขึ้นไปเรื่อยๆอย่ารีบร้อนขาย แต่ต้องติดตามสถานการณ์อย่าใกล้ชิด ในทางกลับกัน ถ้ารู้ว่าเข้าผิดจังหวะ จะต้องตัดขายออกอย่างรวดเร็ว และให้ถอยออกมาตั้งหลักนอกตลาด

กฎข้อที่ 7 อย่าปล่อยให้กำไรกลายเป็นขาดทุน
            กฎข้อนี้เป็นการเตือนว่า "อย่าโลภมากเกินไป " บางคนมีวิธีการคือ ถ้าราคาขึ้นไป 1 ใน 3 ของเป้าหมายกำไรที่ตั้งไว้ก็ตัดขายออกมา 1 ใน 3 ส่วนกำไรเพิ่มขึ้น 1 ส่วน ก็ตัดขายออกมา 1 ส่วน เพื่อให้แน่ใจว่า ทำกำไรได้แน่นอน(สรุปได้กำไร2/3ส่วน หากหุ้นมาถึงเป้าหมาย)

กฎข้อที่ 8 ซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว และขายเมื่อราคาสูงขึ้น
            Victor เน้นย้ำสำหรับนักเก็งกำไร ถ้ามองแนวโน้มใหญ่ยังเป็นขาขึ้น แต่แนวโน้มระยะสั้นราคาอ่อนตัวให้เข้าซื้อลงทุนระยะสั้นได้ (แต่ถ้าแนวโน้มใหญ่เป็นขาลงด้วย อย่าเข้าไปรับเชียว ตามกฎอย่ารับมีดที่ตกจากท้องฟ้า)

กฎข้อที่ 9 เป็นนักลงทุนในช่วงต้นของตลาดกระทิง และเป็นนักเก็งกำไรในช่วงท้ายตลาดกระทิงและ       ตลาดหมี
            วิธีการลงทุนที่ฉลาด Victor บอกว่า ถ้ามั่นใจว่าตลาดเริ่มพลิกกลับจากหมี มาเป็น กระทิง เราต้องซื้อลงทุน อย่างเล่นเก็งกำไร แต่ถ้าตลาดหุ้นขึ้นมามากแล้ว ซึ่งคาดว่า จะเป็นปลายกระทิง หรืออยู่ในตลาดหมี อย่าเล่นแบบลงทุน ในซื้อขายแบบนักเก็งกำไร(แต่ต้องเตรียมตัดขาดทุนด้วยนะครับ หรือไม่หากเริ่มเจ็บสักครั้ง ก็เลิกมาตั้งหลักดีกว่าครับ)

กฎข้อที่ 10 อย่าใช้วิธีถัวเฉลี่ยการขาดทุน
             การถัวเฉลี่ยอาจหมายถึงการ "ถลำลึก" ลงไปเรื่อยๆและปกปิดข้อบกพร่องของตัวเอง Victor ให้เรายอมตัดขาดทุนและรอกลับมาซื้อราคาถูกจะดีกว่า

กฎข้อที่ 11 อย่าซื้อเพราะเห็นว่าราคาถูก และอย่าขายเพราะคิดว่าราคาสูง
            หลักเลี่ยงความคิดว่า ราคาได้ตกลงมาถึง "จุดต่ำสุด"แล้วหรือคิดว่า ราคาสามารถ"ผ่าน" สุดสูงสุดเดิมไปได้ ความจริงคืออย่าใช้ความรู้สึกส่วนตัวเป็นตัวตัดสิน Victor บอกว่า เพราะมันอาจจะเป็นความคิดที่ผิด

กฎข้อที่ 12 ให้เล่นหุ้นในช่วงที่ตลาดมีสภาพคล่องสูงเท่านั้น
             Victor เชื่อว่า ตลาดช่วงที่มีสภาพคล่องต่ำ เป็นตลาดที่มีความเสี่ยงสูงแสดงถึงความไม่มั่นใจในสภาวะตลาดจึงไม่คุ้มที่จะ เข้ามาลงทุน

กฎข้อที่ 13 อย่าเข้าตลาดในช่วงที่มีความผันผวนสูง
             ตลาดหุ้นที่ผันผวนสูงมักจะเป็นช่วงปลายของตลาดหุ้นขาขึ้นเป็นช่วงที่นักลง ทุน ขาดการไตร่ตรอง จึ่งเสี่ยงต่อการติดหุ้นสูง

ฎข้อที่ 14 ซื้อหรือขายหุ้นอยู่บนพื้นฐานการตัดสินใจของตนเองเท่านั้น
            กฎของ Victor ข้อนี้ บอกให้เราซื้อขายหุ้นบนพื้นฐานการตัดสินใจของเราเองอย่าเล่นตามข่าวลือ เพราะกว่าข่าวลือจะมาถึงทำให้เราก้าวตามหลังคนอื่นหลายก้าว จึกมักจะตกเป็นเหยื่อในที่สุด

กฎข้อที่ 15 ต้องวิเคราะห์ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ
            เขาเน้นย้ำว่า เมื่อนักลงทุนเกิดความผิดพลาดขึ้น ควรนำมาวิเคราะห์เพื่อให้เห็นสาเหตของความผิดพลาดนั้น จะได้ไม่ปกปิดความผิดพลาดจนทำให้การลงทุนครั้งต่อๆไปล้มเหลว

กฎข้อที่ 16 ต้องระมัดระวังข่าวลือเรื่องการ Take Over
             ทั้งนี้เพราะข่าวการเทคโอเว่อ จะส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงราคาหุ้น ถ้าจะเข้าลงทุนต้องไวพอ

กฎข้อที่ 17 ตรวจสอบราคาซื้อขายให้ชัดเจนก่อนส่งคำสั่ง ซื้อขาย

กฎข้อที่ 18 จดคำสั่งการซื้อขายทุกครั้ง เป็นหลักฐานยืนยันความถูกต้องเมื่อมีการทำผิดพลาดของโบรกเกอร์

กฎข้อที่ 19 รู้และปฏิบัติตามกฎทั้ง 18 ข้อ ( 15 ข้อก็คงพอนะท่าน Victor )

การหาแนวรับและแนวต้านโดยใช้เครื่องมือต่างๆ


 
แนวรับและแนวต้านกราฟ week ของ EUR/USD โดยใช้เครื่องมือต่างๆ 
     
      กราฟ EUR/USD
   
   
         
   
      หาแนวต้านโดยใช้ Trendline 
      ลาก Trendline จากจุดที่ 1 ที่ราคา 1.6037 ไปหาจุดที่ 2 ที่ราคา 1.5143 จะได้ Resistance Trendline ดังรูป
   
    
         
   
      หาแนวต้านโดยใช้ Fibonacci Fan
      ไป ที่ Insert >>> Fibonacci >> Fan จากนั้นนำ Fan มาจิ้มที่จุดแรก 1.6037 และลากมาจุดที่ 2 ที่ราคา 1.1876 เราจะเห็นแนวต้านอยู่ที่ ระดับ 61.8% ดังรูป
   
    
         
    
          
   
      หาแนวต้านโดยใช้ Fibonacci Retracement
      Fibonacci Retracement วัดหาแนวต้านได้หลายวิธี ดังนี้
      วิธี ที่ 1 ลากจาก High 1.6037 ถึง Low 1.1876  โดยเอา 0% ไว้ที่ 1.6037 และ 100 % ไว้ที่ 1.1876 (ในกรณีนี้วัดแนวโน้มขาลง) ดังรูปด้านล่าง
   
    
         
   
      วิธีที่ 2 เปลี่ยนจากจุดแรกมาเป็น 1.5143 และจุดที่สองยังคงเป็น 1.1876 เหมือนเดิม จะได้แนวต้านดังรูป
   
    
         
   
      วิธี ที่ 3 เปลี่ยนจุดแรกเป็น 1.1876 และจุดที่ สอง เป็น 1.3317 โดย 0% อยู่ที่ 1.1876 และ 100% อยู่ที่ 1.3317 เราจะได้แนวต้านที่ระดับ Fibonacci ที่ 138.2 % ที่ราคา 1.3887 ดังรูปด้านล่าง
   
    
         
   
      หาแนวต้านจาก Indicator ผมจะยกตัวอย่างการหาแนวต้านจาก RSI (Relative Strength Index) 
      แนวต้านของ RSI จะเทียบกับจุดสูงสุดของยอดเก่า และระดับ 70 ของ RSI ดังรูป
   
    
         
   
      เรา จะเห็นว่าการหาแนวต้านทำได้หลายวิธีมาก ซึ่งแนวรับแนวต้านของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน เพราะวัดต่างกัน แต่ถ้าเข้าใจหลักการณ์เดียวกัน ก็จะได้ราคาเดียวกัน






การลงทุน รูปแบบใหม่‎ รายได้เสริม งานออนไลน์ รายได้พิเศษ‎ หารายได้ผ่านเน็ต  วิธีหารายได้บนเน็ต  หาเงินผ่านเน็ต ทำงานผ่านเน็ต หาเงินผ่านเน็ต เล่นหุ้นออนไลน์ เปิดพอร์ตหุ้นออนไลน์ มือใหม่เล่นหุ้น เล่นหุ้นผ่านมือถือต้องมีเงินเท่าไร เริ่มต้นเล่นหุ้น ตลาดหุ้นออนไลน์ เล่นหุ้นอย่างไรให้รวย ซื้อขายหุ้นผ่านมือถือไอแพดแท็บเล็ตและแอนดรอย การเล่นหุ้นเบื้องต้น เทรดหุ้นออนไลน์ การลงทุนในหุ้น วิธีเล่นหุ้น หุ้นออนไลน์ หุ้นปันผล

เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ MOVING AVERAGE (MA)


 
 เป็น เครื่องมือทางเทคนิคที่ใช้กันแพร่หลายวิธีหนึ่ง เนื่องจากใช้ได้ง่ายและสามารถนำไปใช้ประกอบกับเครื่องมือทางเทคนิคต่าง ๆ ได้อีกด้วย นอกจากนั้น เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (MOVING AVERAGE) ยังสามารถให้สัญญาณที่ไม่คลุมเครือซึ่งต่างจากเครื่องมือทางเทคนิคอื่น ๆ เช่น การวิเคราะห์รูปแบบของราคา (PRICE PATTERN) ที่มีความไม่แน่นอนสูง
                
      หลัก การคำนวณค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบพื้นฐาน ทำได้โดยนำราคาของวันปัจจุบันและวันก่อนหน้านี้มารวมกัน แล้วหารด้วยจำนวนวันที่ต้องการเฉลี่ยทั้งหมด ซึ่งจะขึ้นอยู่กับเส้นค่าเฉลี่ยนั้นว่า จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์แนวโน้มในระยะสั้น กลาง หรือระยะยาว และสำหรับวันถัดไปสามารถหาค่าเฉลี่ยได้ โดยตัดข้อมูลวันแรกสุดออกไป และเอาราคาของวันล่าสุดเข้ามาแทนที่ จากนั้นก็นำมาคำนวณโดยวิธีเดียวกัน เช่น ถ้าต้องการหาค่าเฉลี่ยระยะสั้น 10 วัน ราคาสำหรับ 10 วันสุดท้ายจะถูกนำมารวมกันแล้วหารผลทั้งหมดด้วย 10 เนื่องจากข้อมูลทั้งหมด (ในที่นี้คือ 10 วัน แล้วหารผลทั้งหมดด้วย 10 เนื่องจากข้อมูลทั้งหมด (ในที่นี้คือ 10 วันสุดท้าย) จะถูกเฉลี่ยเคลื่อนที่ (MOVE) ไปข้างหน้า จึงเรียกว่า “ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่”
 
      สำหรับ การหาค่าเฉลี่ยในวันถัดไป ทำได้โดยนำราคาของวันใหม่ (วันที่ 11) เข้ามาและตัดวันที่ย้อนหลังไป 11 วัน (คือวันแรกสุดที่ใช้คำนวณ) ก็จะได้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 10 วันสำหรับวันถัดมาซึ่งการหาค่าเฉลี่ย ส่วนใหญ่จะใช้ราคาปิดมาคำนวณ แต่บางครั้งมีการใช้ราคาสูงสุด หรือต่ำสุด หรือราคากลาง หรือราคาเฉลี่ย มาคำนวณหาเส้นค่าเฉลี่ยเช่นกัน เนื่องจากมีนักวิเคราะห์บางคนให้ความเห็นว่าการใช้ราคาสูง และราคาต่ำ จะสะท้อนให้เห็นถึงราคาที่แท้จริงที่ทำการซื้อขายในแต่ละวัน ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่จะช่วยบอกนักลงทุนที่ซื้อหุ้นในช่วงเวลานั้น ๆ ว่ามีต้นทุน เฉลี่ยอยู่ที่ระดับราคาประมาณเท่าไร และเรายังสามารถนำเส้นค่าเฉลี่ยฯ มาช่วยในการตัดสินใจลงทุนซื้อหุ้นแต่ละตัว โดยการหาสัญญาณซื้อ และขายหรือพยากรณ์แนวโน้มของตลาดหรือราคาหุ้น และนี่คือเหตุผลสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ สามารถนำมาใช้วิเคราะห์การเคลื่อนไหวของราคาหุ้นได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในระยะสั้น และระยะกลาง
  
      เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่สามารถคำนวณได้ใน 5รูปแบบ คือ
  
 1. SIMPLE MOVING AVERAGE
  
      2. WEIGHTED MOVING AVERAGE
  
      3. MODIFIED MOVING AVERAGE
     
           4. EXPONENTIAL MOVING AVERAGE
 
     5. HAMMING MOVING AVERAGE
  

      ช่วงเวลาที่ใช้

  
      ปัจจุบันช่วงเวลาที่นิยมใช้ในการแบ่งกลุ่มของผู้ลงทุน คือ  10 วัน (2 สัปดาห์) ใช้สำหรับการลงทุนระยะสั้น   25 วัน (5 สัปดาห์) ใช้สำหรับการลงทุนระยะค่อนข้างปานกลาง   75 วัน (15 สัปดาห์) ใช้สำหรับการลงทุนระยะกลาง   200 วัน (40 สัปดาห์) ใช้สำหรับการลงทุนระยะยาว
       
  
      โดย ช่วงเวลาทั้ง 4 ได้ผ่านการทดสอบแล้วและเหมาะสมสำหรับตลาดหุ้นไทย อย่างไรก็ดี ช่วงระยะเวลานี้อาจจะแตกต่างออกไปตามความนิยมใช้ของผู้ลงทุนแต่ละกลุ่ม เช่น ระยะสั้นอาจเป็น 12 วัน ระยะยาวอาจมีช่วงสั้นลงเป็น 150 วัน หรือ 30 สัปดาห์ แต่สำหรับระยะปานกลางมักจะใช้ 75 วันหรือ 15 สัปดาห์เป็นหลัก และเส้นค่าเฉลี่ยฯ ที่ใช้จำนวนวันน้อย ๆ เช่น เส้นค่าเฉลี่ยฯ 5 วันหรือ 10 วันจะเปลี่ยนแปลงไปตามราคามากกว่าเส้นค่าเฉลี่ยระยะยาว เช่น 40 วัน
  
      สำหรับ ในสภาพตลาดที่มีลักษณะที่เด่นชัด (BULL OR BEAR MARKET) การใช้เส้นค่าเฉลี่ยฯ ระยะสั้นจะได้ผลมากกว่า แต่ในภาวะที่ตลาดมีลักษณะไม่ชัดเจน (SIDEWAYS) เราควรใช้เส้นค่าเฉลี่ย ระยะยาว ในการหาสัญญาณซื้อหรือขาย
  
 
      การหาสัญญาณซื้อ-ขายโดยใช้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่
  
 
      จาก การที่เส้นราคาหุ้นย่อมนำหน้าเส้นราคาเฉลี่ย ดังนั้นความสัมพันธ์ของเส้น 2 เส้น จึงมีความสำคัญในการบอกถึงการเปลี่ยนทิศทางของราคาหุ้น และจะนำมาช่วยในการบอกถึงสัญญาณซื้อและขายได้ โดยเส้นค่าเฉลี่ยฯ ทั้ง 5 แบบจะมีหลักในการหาสัญญาณซื้อหรือขายคล้าย ๆ กัน ซึ่งสามารถบอกความสัมพันธ์ได้ดังนี้
  
 
      1. เมื่อราคาเคลื่อนขึ้น และทะลุผ่านเส้นค่าเฉลี่ยฯ ที่เคลื่อนขึ้นตาม จะถือเป็นสัญญาณซื้อ
  
      2. เมื่อเส้นราคาหุ้นทะลุขึ้น ผ่านเส้นค่าเฉลี่ยฯ ที่เปลี่ยนจากเคลื่อนที่ลงเป็นขึ้น และสามารถยืนอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ยฯ ได้นานพอสมควร ให้ถือเป็นสัญญาณซื้อ
     
      3. เมื่อราคาเคลื่อนลงและทะลุผ่านเส้นค่าเฉลี่ยฯ ที่เคลื่อนลงตาม จะถือเป็นสัญญาณขาย
     
      4. เมื่อเส้นราคาหุ้นทะลุลง ผ่านเส้นค่าเฉลี่ยฯ ที่เปลี่ยนจากเคลื่อนที่ขึ้นเป็นลง และอยู่ใต้เส้นค่าเฉลี่ยฯ นานพอสมควร ให้ถือเป็นสัญญาณขาย
  
 
      
 
      5. ในแนวโน้มขึ้น เมื่อราคาหุ้นขึ้นเร็ว และสูงกว่าเส้นค่าเฉลี่ยฯ มาก อาจมีการปรับตัวลงในระยะสั้น จะถือเป็นสัญญาณขาย และหลังจากราคาได้ปรับตัวลงมาใกล้เส้นค่าเฉลี่ยฯ และเริ่มวกกลับขึ้นไป ให้ถือเป็นสัญญาณซื้อ
 
 
      
  
 
      6. ในแนวโน้มลง เมื่อราคาหุ้นลงเร็ว และต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยฯ มากอาจมีการปรับตัวขึ้นในระยะสั้น จะถือเป็นสัญญาณซื้อและหลังจากราคาได้ปรับตัวขึ้นมาใกล้เส้นค่าเฉลี่ย ๆ และเริ่มวกกลับลงไปให้ถือเป็นสัญญาณขาย
  
 
      
  
      ความสัมพันธ์ระหว่างเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้นกับระยะยาว
  
      ความ สัมพันธ์ระหว่างเส้นค่าเฉลี่ยฯ ด้วยกันเองนั้น มีความสำคัญยิ่งในการนำมาใช้ยืนยันถึงความสัมพันธ์ของราคากับเส้นค่าเฉลี่ยฯ ที่เกิดมาก่อนหน้านี้ ว่ามีแนวทางที่เป็นไปถูกต้องแล้ว โดยเฉพาะความสัมพันธ์ของเส้นค่าเฉลี่ยฯระยะปานกลางกับระยะยาว เช่น ถ้าดัชนีราคาซึ่งเคยมีแนวโน้มลงมาตลอดกลับเปลี่ยนเป็นเคลื่อนขึ้นและตัดทะลุ ผ่านเส้นค่าเฉลี่ยฯ 40 สัปดาห์ (200 วัน) ขึ้นไปได้ โดยมาอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ยฯ นี้เป็นระยะเวลาหนึ่งจนทำให้เส้นค่าเฉลี่ยฯ 15 สัปดาห์ (75 วัน) โค้งขึ้นมาตัดเส้นค่าเฉลี่ยฯ 40 สัปดาห์ ได้เช่นนี้ เป็นการยืนยันอีกครั้งหนึ่งว่าการขึ้นของดัชนีราคาหุ้นนั้นเป็นไปอย่างถูก ทิศทาง และจะมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อไปได้ในระยะยาว ดังรูป
  
 
      
  
      ใน กรณีที่เริ่มเห็นชัดว่า ตลาดได้เปลี่ยนสภาพเป็นแนวโน้มลงอย่างรวดเร็ว ควรรีบตัดสินใจขายหุ้นทันทีเมื่อเส้นค่าเฉลี่ยฯ 2 สัปดาห์ (10 วัน) เคลื่อนลงมาตัดเส้น 5 สัปดาห์ (25 วัน) โดยไม่ต้องรอการยืนยันจากการที่เส้น 15 สัปดาห์ (75 วัน) ตกทะลุเส้น 40 สัปดาห์ (200 วัน) ก่อนและผู้ลงทุนควรหยุดพักการลงทุนและรอคอย จังหวะใหม่ของหุ้น นอกจากนี้ เราสามารถนำความสัมพันธ์ระหว่าง เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่กับดัชนีราคา มาช่วยในการตัดสินใจลงทุน นอกเหนือจากการหาสัญญาณซื้อ-ขาย โดยสามารถใช้บอกแนวโน้มได้ดีอีกด้วย กล่าวคือ
     
      ถ้า ดัชนีมีแนวโน้มลดลงตลอด กลับเปลี่ยนทิศเป็นเคลื่อนขึ้น และตัดทะลุผ่านเส้นค่าเฉลี่ย 40 สัปดาห์ (200 วัน) ขึ้นไปอยู่ระยะเวลาหนึ่งจนสามารถทำให้เส้นค่าเฉลี่ยฯ 15 สัปดาห์ (75 วัน) โค้งขึ้นมาตัดเส้นค่าเฉลี่ยฯ 200 วัน ได้ก็เป็นการยืนยันได้ว่า การขึ้นของดัชนีราคาเป็นไปถูกทิศทางและมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อไปในระยะยาว
     
      ตรง จุดตัดที่เส้นค่าเฉลี่ย 75 วันตัดเส้น 200 วันที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (ตัดขึ้น) ถือเป็นจุดเริ่มต้นแห่งตลาดบูล หรือ GOLDEN CROSS ซึ่งเส้นค่าเฉลี่ยฯ 75 วันเป็นตัวสำคัญในการบอกความยาวนานของตลาดบูล (BULL MARKET) เพราะถ้าเส้นค่าเฉลี่ย 75 วันเริ่มเปลี่ยนทาง (โค้งลง) จนมาตัดเส้น 200 วันแล้ว แสดงว่า BULL ถึงจุดสิ้นสุดหรือเกิด DEAD CROSS
     
      การ ใช้เส้นค่าเฉลี่ยฯกับหุ้นเป็นรายตัว ควรเลือกหุ้นที่มีการขึ้นหรือลงอย่างเร็ว แม้ความเสี่ยงจะสูง แต่การใช้เส้นค่าเฉลี่ยฯ จะช่วยแสดงสัญญาณซื้อขายได้
     
      และ การที่ราคาหุ้นตัดเส้นค่าเฉลี่ยฯ ขึ้นหรือลง ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนว่าหุ้นนั้นกำลังจะเปลี่ยนทิศทาง แต่จะบอกได้แน่นอนขึ้นเมื่อเส้นค่าเฉลี่ยฯ เปลี่ยนทิศทางไปในทางเดียวกันด้วย เส้นค่าเฉลี่ยฯ จะเป็นแนวหมุนเมื่อหุ้นที่วิ่งอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ยฯ มีการปรับตัวลง และเป็นแนวต้านเมื่อหุ้นที่อยู่ใต้เส้นค่าเฉลี่ยฯ มีการปรับตัวขึ้น
 

      ตัวอย่างการใช้เส้นค่าเฉลี่ยฯ กับดัชนีตลาดหุ้นไทย

  
      ความสัมพันธ์ระหว่างเส้นค่าเฉลี่ยฯ ระยะสั้นกับระยะยาว อาจนำมาทดสอบเปรียบเทียบกับดัชนีตลาดหุ้นไทยตามแผนภูมิดังนี้ :
  
 
      
  
 
      จาก แผนภูมิ เกิดลักษณะของจุดตัดที่เรียกว่า DEAD CROSS (จุดที่เส้นค่าเฉลี่ยฯ 15 สัปดาห์ โค้งลงมาตัดเส้นค่าเฉลี่ยฯ 40 สัปดาห์) ซึ่งแสดงถึงตลาดบูล (BULL) ได้ผ่านพ้นไปแล้วสองครั้งด้วยกัน จุดตัดทุกครั้งเกิดจากเส้นค่าเฉลี่ยฯระยะสั้น 15 สัปดาห์เคลื่อนทะลุผ่านเส้นค่าเฉลี่ยฯ 40 สัปดาห์ลงมา และทำให้ตลาดหุ้นไทยตกอยู่ในสภาพ BEARISH อยู่ระยะเวลาหนึ่ง
  
 
      หมาย เหตุ : การใช้เส้นค่าเฉลี่ยฯ 15 และ 40 สัปดาห์ ในการแสดงแนวโน้มของตลาดที่เป็น BULL หรือ BEARISH นั้น อาจจะไม่เหมาะสมกับ ตลาดหุ้นไทย นักวิเคราะห์จึงได้ปรับใช้เส้นค่าเฉลี่ยฯ ให้มีระยะเวลาสั้นลง เช่น 10 วัน กับ 40 วัน หรือ 12 วัน กับ 25 วัน ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับ สภาพตลาดไทยที่มีการเคลื่อนไหวค่อนข้างรวดเร็ว
  
 
      ข้อจำกัดของ MOVING AVERAGES
  
      เนื่อง จากเส้นค่าเฉลี่ยฯ จะสะท้อนราคาหุ้นในอดีต การเคลื่อนไหวจึงเชื่องช้า (LAG) กว่าดัชนีราคา ซึ่งจะไม่สามารถบอกจุดสูงสุดต่ำสุดของตลาดได้ กล่าวคือ
  
 
      ประการ แรก จุดตัดของเส้นค่าเฉลี่ยฯ 15 กับ 40 สัปดาห์ ที่ใช้ยืนยันถึงสภาพ BULL MARKET เป็นจุดตัดที่ราคาหุ้นได้เคลื่อนที่ขึ้นจากจุดต่ำสุดค่อนข้างสูงมากแล้ว โอกาสที่จะทำกำไรสูงสุดย่อมลดลง
  
 
      ประการ ที่สอง ความเสี่ยงมีสูงโดยเฉพาะในกรณีที่ตลาดหุ้นถึงจุดจบ และราคาหุ้นตกอย่างรวดเร็ว ผู้ลงทุนย่อมเกิดความเสียหายไปมากแล้ว เมื่อเส้นค่าเฉลี่ยฯ เพิ่งจะยืนยันว่าตลาดถึงจุดจบ
  
      ดังนั้น จึงต้องมีเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคอื่น ๆ มาประกอบการพิจารณาร่วมด้วย เช่นการใช้ MOVING AVERAGE SHIFT
  

      MOVING AVEAGE SHIFT

  
      วิธี นี้เป็นอีกวิธีหนึ่ง ในการมองหาแนวรับแนวต้านที่ปรากฏอยู่ว่าเป็นอย่างไร สามารถทำได้โดยการย้ายเส้นค่าเฉลี่ยฯ เดิมทั้งเส้นไปข้างหน้าหรือข้างหลัง บางครั้งจะถูกมองข้ามความสำคัญไป แต่วิธีนี้เป็นส่วนสำคัญในระบบการซื้อขายโดยใช้ค่าเฉลี่ยนเคลื่อนที่ เพื่อช่วยให้สามารถมองภาพรวมของตลาด และช่วยในการหาสัญญาณซื้อขายได้ง่ายขึ้น หลักการดูคือ ถ้าราคาอยู่ต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยฯ ที่ย้าย (SHIFT) ไปก็ถือเป็นแนวต้าน ในทำนองเดียวกัน เมื่อราคาอยู่สูงกว่าเส้นค่าเฉลี่ยฯ เส้นค่าเฉลี่ยที่ย้าย (SHIFT) ก็จะเป็นแนวรับ สำหรับวิธีการย้ายเส้นค่าเฉลี่ยฯ สามารถทำได้โดยเคลื่อนย้าย (SHIFT) เส้นค่าเฉลี่ยฯ ทั้งเส้นไปทางขวา ในกรณีย้ายเส้นในทางบวก (POSITIVE SHIFTED) และย้ายเส้นค่าเฉลี่ย ทั้งเส้นไปทางซ้ายในกรณีย้ายเส้นในทางลบ (NEGATIVE SHIFTED) ของเส้นค่าเฉลี่ยฯ เดิม ตามรูป
  
 
      
  
 
      รูปแสดงการย้าย (SHIFT) เส้น SMA 10 วัน ไปข้างหน้า 10 วัน (ทางขวามือ)
  
 
      
  
 
      รูปแสดงการย้าย (SHIFT) เส้น SMA 10 วัน ถอยหลังไป 10 วัน (ทางซ้ายมือ)
  
 
      ช่วง เวลาที่ใช้ในการย้ายเส้นค่าเฉลี่ยฯ ไม่มีกำหนดแน่นอนตายตัว แต่จำนวนวันที่ย้ายควรจะน้อยกว่าจำนวนวันของเส้นค่าเฉลี่ยฯเดิม เช่น ถ้าต้องการ SHIFT เส้นค่าเฉลี่ย 25 วัน จำนวนวันที่ย้ายก็ไม่ควรเกิน 25 วัน โดยเทียบจากเส้น MOVING AVERAGE
  
 
      MOVING AVERAGE SHIFT ถูกรวมเป็นทางเลือกหนึ่งในการใช้ประกอบกับเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ในการ ตัดสินใจลงทุน และยังได้ถูกรวมเป็นทางเลือกหนึ่งของเครื่องมือวิเคราะห์อื่นบางชนิด เช่น ดัชนีการแกว่งของค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (MOVING AVERAGE OSCILLATOR)
  

      รูปแบบของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ

 
      SIMPLE MOVING AVERAGE (SMA)
  
 
      เส้น ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย หรือค่าเฉลี่ยเลขคณิต (ARITHMETIC MEAN) นี้ เป็นวิธีที่นักวิเคราะห์ใช้กันแพร่หลายมากที่สุด ในการหาเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ วิธีนี้จะถ่วงน้ำหนักให้ค่าทุกค่าที่นำมาคำนวณมีความสำคัญ (อิทธิพล) ต่อราคาเท่ากันหมด โดยอาศัยหลักการเอาข้อมูลในช่วงเวลาหนึ่งมาหาค่าเฉลี่ยกัน เช่น การหาเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของราคาในช่วงเวลา 10 วัน จะคำนวณโดยรวมราคาหุ้น ณ วันปัจจุบัน (Pt) กับราคาหุ้นของอีก 9 วันก่อนหน้า (Pt-1 ถึง Pt-9) แล้วหารด้วย 10 หลังจากนั้นนำมาจุดบนแผนภูมิแท่ง (BAR CHART) หรือแผนภูมิเส้น (LINE CHART) ให้ตรงกับราคาหุ้นครั้งสุดท้ายแล้วลากเส้นต่อกัน
 

      วิธีการคำนวณ

   
      SMAt = (Pt + Pt - 1 + P1-2 + … + Pt-n+1) /n
  
 
      โดยที่ :
  
      SMAt คือ ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ณ คาบเวลา (วัน) ปัจจุบัน
  
      n คือ จำนวนวัน
  
      Pt คือ ราคาที่เลือกใช้ในการคำนวณ (เช่น ราคาปิดหรือราคาเฉลี่ยฯ) ณ วันปัจจุบัน
    
      Pt-k คือ ราคาที่เลือกใช้ในการคำนวณย้อนหลังไป k คาบเวลา
  
      
   
 
      รูปแสดงเส้นค่าเฉลี่ยฯชนิด SMA 10, 25 และ 75 วัน
  
      อย่าง ไรก็ดี ยังมีปัญหาถกเถียงเกี่ยวกับความถูกต้องแม่นยำของวิธีนี้คือ ค่าเฉลี่ยฯที่ได้นี้จะมีผลในช่วงระยะเวลาที่ใช้ในการคำนวณเท่านั้น การหาแนวโน้มที่ได้จึงไม่ใช่แนวโน้มที่มาจากข้อมูลทั้งหมด นอกจากนี้ วิธีการคำนวณ SMA ให้ความสำคัญกับทุก ๆ วันเท่ากัน เช่น ในการหา SMA 10 วัน วันแรกถึงวันสุดท้ายจะถูกถ่วงน้ำหนัก (WEIGHTED) ด้วยค่าที่เท่ากันหมด (10%) ซึ่งมีนักวิเคราะห์บางคนเชื่อว่า ควรจะให้ความสำคัญกับราคาในวันที่ใกล้เคียงกับวันปัจจุบันมากกว่า
  
      WEIGHTED MOVING AVERAGE (WMA)
       
 
      วิธีการคำนวณ
  
 
       [Pnt + Pt-1 (n-1) + (Pt-2 (n-2) + … + t-n+1 (1)]
      WMAt =
     
      n + (n-1)+(n-2) + … + 2 + 1
     
      โดยที่
  
      WMAt คือ ค่าเฉลี่ยฯถ่วงน้ำหนัก ณ วันปัจจุบัน
  
      Pt คือ ราคาที่เลือกใช้ในการคำนวณ (เช่น ราคาปิดหรือราคาเฉลี่ยฯ) ณ วันปัจจุบัน
 
      Ptt-k คือ ราคาที่เลือกใช้ในการคำนวณย้อนหลังไป k คาบเวลา
   
      n คือ จำนวนห้องของค่าเฉลี่ยฯ
  
      วิธี นี้เกิดจากความพยายามในการแก้ปัญหาในเรื่องการถ่วงน้ำหนักจากวิธี SMA โดยให้ความสำคัญกับวันที่ใช้คำนวณวันสุดท้ายมากที่สุด โดยวันถัดไปจะถูกลดความสำคัญลงไปเรื่อย ๆ และความไวของเส้นค่าเฉลี่ยฯ ถ่วงน้ำหนักนี้ มักจะนำหน้าเส้นค่าเฉลี่ยฯอย่างง่าย ดังรูป
  
 
      
 
 
      รูปแสดงเส้นค่าเฉลี่ยฯ ชนิด WMA 10, 25 และ 75 วัน
  
 
      อย่าง ไรก็ดี เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ถ่วงน้ำหนักนี้ อธิบายได้เพียงแค่ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ในช่วงของเวลาที่พิจารณาอยู่เหมือนกับวิธี SMA มิได้ครอบคลุมถึงราคาในช่วงเวลาที่ผ่านมา
 

      MODIFIED MOVING AVERAGE

 
      วิธี นี้จะมีลักษณะคล้ายกับวิธี SMA แต่ค่าที่ได้มักจะไม่ค่อยไวต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาอย่างรวดเร็วเหมือนกับ SMA หรือ WMA และเป็นวิธีที่สะดวกและง่ายซึ่งสามารถคำนวรด้วยมือได้ เพราะใช้เพียงค่าเฉลี่ยของผลต่างระหว่างราคาปัจจุบันกับค่าเฉลี่ยย้อนหลังไป 1 คาบเวลา
     
      โดยมีสูตรการปรับค่าเฉลี่ยฯ ดังนี้
   
      MMAt = MMAt-1 + [Pt - (MMAt-1)] / n
  
 
      โดยที่ :
     
      MMAt คือ ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ณ วันปัจจุบัน
     
      MMAt-1 คือ ค่าเฉลี่ยฯ ย้อนหลังไป 1 คาบเวลา
     
      Pt คือ ราคาปัจจุบัน
     
      n คือ จำนวนวัน
     
      หมายเหตุ : การคำนวณค่าเฉลี่ยของวันแรก จะใช้ SMA
 
       
 
      

 
      รูปแสดงเส้นค่าเฉลี่ยฯ ชนิด MMA 10, 25 และ 75 วัน

      EXPONENTIAL MOVING AVERAGE (EMA)
  
      วิธี นี้เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการหาค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก โดยการให้ความสำคัญกับค่าตัวหนึ่งที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของราคา และถ่วงน้ำหนักให้ค่าสุดท้ายมีความสำคัญเพิ่มขึ้น วิธีนี้ไม่ได้ให้ความสำคัญของเวลาในการวิเคราะห์ ราคาทุกราคาจะมีผลต่อค่าของ EMA แม้ว่าราคาล่าสุดจะมีความสำคัญมากที่สุดก็ตาม ซึ่งวิธีนี้เป็นการพยายามแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นจากวิธี SMA กล่าวคือ EMA นั้น จะถ่วงน้ำหนักโดยให้ความสำคัญกับวันสุดท้ายมากที่สุด และจะเอาค่าทุก ๆ ค่ามาหาค่าเฉลี่ย โดยจะไม่ทิ้งข้อมูลเก่าที่ผ่านมา ซึ่งจะทำให้ค่าทุกค่าสะท้อนให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของราคา
     
      ขณะ ที่ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ตัวอื่น ๆ ให้ความสำคัญต่อคาบเวลา แต่ EMA จะให้ความสำคัญกับค่าตัวหนึ่งที่เรียกว่า SMOOTHING FACTOR (SF) หรือ SMOOTHING CONSTANT โดยที่ SF = 2/(n+1) ซึ่งวิธีการสร้าง EMA มีสูตรการคำนวณคือ
  
      EMA = EMAt-1 + SF(Pt - EMAt-1)
  
      เมื่อ EMAt คือ ค่าของ Exponential Moving Average ณ เวลาปัจจุบัน
     
      EMAt-1 คือ ค่าของ Exponential Moving Average ณ คาบเวลาก่อนหน้า
 
      SF คือ ค่าของ Smoothing Factor = 2/(n+1)
 
      Pt คือ ราคาปัจจุบัน
     
      n คือ จำนวนวัน
  
      หมายเหตุ : การคำนวณค่าเฉลี่ยของวันแรก จะใช้ราคาในวันแรกนั้นเป็น EMA
 
       
 
      
     
      รูปแสดงเส้นค่าเฉลี่ยฯ ชนิด EMA 10, 25 และ 75 วัน

      HAMMING - WEIGHTED MOVING AVERAGE (HMA)
  
      HAMMING - WEIGHTED MOVING AVERAGE เป็นวิธีที่ปรับใช้ตัวแปรสำหรับถ่วงน้ำหนักให้กับข้อมูลราคา โดยมีพื้นฐานมาจากการวิเคราะห์แบบ SPECTRAL ANALYSIS หรือวิธี HAMMING การเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักแบบ HAMMING จะให้ผลที่ถูกต้องต่อข้อมูลที่มีการเคลื่อนไหวแบบวัฏจักร (CYCLE) ดีกว่าวิธีหาเส้นค่าเฉลี่ยแบบดั้งเดิม ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบของราคาที่ผิดปกติ และให้ความถูกต้องในการชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มได้ดีกว่า ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบการใช้ค่าเฉลี่ยโดยวิธีนี้กับการเฉลี่ยแบบอื่น ๆ จะพบว่าวิธี HAMMING AVERAGE นี้อาจช่วยหาสัญญาณซื้อขายได้ดีกว่าวิธีอื่น ๆ
 
      
      
 
       
 
      รูปแสดงเส้นค่าเฉลี่ยฯ ชนิด HMA 10, 25 และ 75 วัน
 
     
      เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบล้อมกรอบ
  
      MOVING AVERAGE ENVELOPES
   
      เป็น เครื่องมือวิเคราะห์โดยการหาช่องการซื้อขายหุ้น (TRADING BANDS) เพื่อนำมาเป็นกรอบบน (UPPER BAND) และกรอบล่าง (LOWER BAND) สำหรับการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น โดยวิธีการเคลื่อนเส้นค่าเฉลี่ย (เส้นใดเส้นหนึ่งตามแต่เราจะเลือก เช่น เส้นค่าเฉลี่ย 10 วัน 25 วัน หรือ 75 วัน) ขึ้นและลง ในลักษณะเป็นแนวตั้งฉากเส้นค่าเฉลี่ยที่เป็นจุดศูนย์กลาง และลากเส้นขนานไปกับเส้นค่าเฉลี่ยที่โดยมีระยะห่างที่คงที่ กรอบบนและกรอบล่างดังกล่าวนี้ทำหน้าที่เสมือนเป็นตัวกลั่นกรอง (FILTER) สัญญาณซื้อหรือขาย จากการที่ราคาตัดเส้นค่าเฉลี่ยขึ้นหรือลง ทั้งนี้เนื่องจากการที่นักลงทุนใช้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เพียงอย่างเดียว มาวิเคราะห์ โดยการหาสัญญาณซื้อขายเมื่อราคาตัดเส้นค่าเฉลี่ยขึ้นหรือลง ทำให้นักลงทุนต้องพบกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างเช่น เมื่อเส้นราคาตัดเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ขึ้นไปตามทฤษฎีซึ่งเป็นสัญญาณที่ บอกให้นักลงทุนซื้อหุ้น และเมื่อนักลงทุนซื้อหุ้นนั้นแล้ว บางครั้งราคากลับไม่ยอมขึ้นไปต่อตามสัญญาณที่บอก แต่กลับดีดตัวลงทำให้นักลงทุนต้องสูญเสียการทำกำไรไป ดังนั้นเครื่องมือวิเคราะห์ตัวนี้จึงเป็นตัวที่ช่วยลดความเสี่ยงที่อาจจะ เกิดขึ้นกับนักลงทุนได้
  
      ค่า เฉลี่ยเคลื่อนที่แบบล้อมกรอบ ประกอบด้วยเส้น 3 เส้น โดยมีเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อยู่ตรงกลาง และมีเส้นขนานทั้งด้านบนและด้านล่างของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ โดยเส้นขนานด้านบนเรียกว่า กรอบบน (UPPER BAND) ส่วนเส้นขนานด้านล่างเรียกว่า กรอบล่าง (LOWER BAND)
     
      และสามารถหาได้จากสูตร
    
      BU = Mat + cMAt
 
      BL = Mat - cMAt
  
 
      โดยที่
 
       
 
      BU = เส้นกรอบบน
 
       
 
      BL = เส้นกรอบล่าง
 
       
 
      c = เปอร์เซ็นต์ อยู่ระหว่าง 0 ถึง 100
 
       
 
      MAt = เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 10, 25, 75, 200, ….
 
       
 
      ช่อง ว่างระหว่างกรอบบนและกรอบล่าง จะเรียกว่า ช่องการซื้อขายหุ้น (TRADING BANDS) ที่เกิดขึ้นจากช่องว่างระหว่างกรอบบนกับเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ และกรอบล่างกับเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ที่จะมีขนาดกว้างมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่ที่เราจะเป็นผู้กำหนด แต่โดยปกติจะอยู่ระหว่าง 0 ถึง 100 และช่องระหว่างเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่และเส้นกรอบบน เรียกว่า ความเสี่ยงในการซื้อ (BUYING RISK) ส่วนช่องว่างระหว่างเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่กับเส้นกรอบล่าง เรียกว่า ความเสี่ยงในการขาย (SELLING RISK) กรอบบนจะทำหน้าที่เป็นแนวต้าน เมื่อราคาหุ้นผ่านเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ขึ้นมาพบกับเส้นกรอบบน ราคาหุ้นมีโอกาสที่จะดีดตัวกลับลงมาได้ ดังนั้นนักลงทุนควรจะขายหุ้นเมื่อราคาวิ่งขึ้นมาถึงเส้นกรอบบน ในทางกลับกันกรอบล่างจะทำหน้าที่เป็นแนวรับ เมื่อราคาหุ้นผ่านแล้วค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ลงมาพบกับเส้นกรอบล่างราคาหุ้นก็ มีโอกาสที่จะเด้งกลับขึ้นมาได้ ณ จุดดังกล่าว นักลงทุนจึงควรจะซื้อหุ้น